ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กะเทย โซเชลมีเดีย (Social Media) และความน่ากลัวของโลกแห่งการ “กดไลค์”

“เมื่อโลกเสมือนจริงได้ฉายภาพความเป็นไปของสังคมของผู้คนในยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน โลกเสมือนจริงจึงน่ากลัวกว่าโลกแห่งความจริงหลายเท่านัก” ชั้นไม่ได้พูดเรื่องนี้อย่างลอยไปลอยมาตามประสากะเทยที่ชอบเพ้อเจ้อเท่านั้น แต่ทุกวันนี้เราต่างใช้อินเตอร์เน็ตโดยมีเป้าหมายที่หลากหลาย ตั้งแต่การแสวงหาความบันเทิงไปจนถึงการแลกเปลี่ยนทางการค้าและบริการ เราต่างปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลในกระแสโลกทุนนิยม ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้สร้างตัวตนเสมือนจริงที่ตนอยากเห็นหรือต้องการให้คนอื่นเห็นผ่านโลกคู่ขนานกับโลกที่เราทุกคนกำลังใช้ชีวิตอย่างวุ่นวายอยู่นี้ ตัวอย่างที่เราทุกคนอาจจะมองข้ามไปไม่ได้คือ โลกของโซเชลมีเดีย (Social Media) ซึ่งกำลังถูกบริโภคอย่างหิวกระหายในสังคมของคนชนชั้นกลาง ชั้นเป็นคนหนึ่งที่เสพความบันเทิงผ่านโลกโซเชลมีเดียด้วยเห็นว่า โซเชลมีเดียเป็นตัวกลางการสื่อสารผ่านผู้คนที่ชั้นรู้จัก ในแวดวงที่ชั้นคุ้นเคย และเป็นกระบอกเสียงให้ชั้นได้พูดในสิ่งที่ชั้นคิด 24 ชั่วโมงในโลกที่บางครั้งเสียงของคนธรรมดาคนหนึ่งถูกทำให้เงียบ


ชั้นเชื่อว่าคนจำนวนมากรู้จัก เฟชบุ๊ค (Facebook) หรือของเล่นสัญชาติอเมริกันที่ได้รับความนิยมในโลกไซเบอร์ เฟชบุ๊คกลายเป็นชุมชนออนไลน์ที่มีประชากรผู้ใช้ที่หลากหลายทั้งในเรื่องอายุ ชนชั้นอาชีพ เชื้อชาติ สัญชาติ และเพศที่ไม่จำกัดแค่เพศชายหรือหญิง ชั้นมีคนรู้จักหลายคนที่เสพเฟชบุ๊คราวกับต้องดื่มกาแฟทุกเช้า สูบบุหรี่หลังอาหาร หรือดื่มสุรายามเย็น เฟชบุ๊คกลายเป็นของเล่นในโลกทุนนิยมที่คนยอมสละเวลาวันละชั่วโมงหรือมากกว่า เพื่อนำตัวเองสู่อีกโลกที่กลายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของชีวิตตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน อีกทั้งเฟชบุ๊คไม่ใช่ของเล่นของคนชนชั้นกลางอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เมื่อคนที่อาศัยในชนบทสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือก็เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย 


ปรากฏการณ์ “กดไลค์” เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นผ่านโลกของโซเชลมีเดียแห่งนี้ การกดไลค์หมายถึงการชื่นชม ชื่นชอบ เห็นด้วย ยอมรับ หรือสยบยอม ผู้ใช้เฟชบุ๊คสามารถเลือกที่จะกดไลค์ภาพหรือความคิดเห็นใดๆตามแต่ความพอใจ พูดง่ายๆคือเมื่อไม่ชอบก็จะไม่กดไลค์ เฟชบุ๊คจึงเป็นพื้นที่ของการแสดงความคิดเห็นโดยเลี่ยงบริบทแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน เพราะผู้แสดงความคิดเห็นไม่ได้อยู่ต่อหน้าเจ้าของภาพหรือเจ้าของข้อความนั้นๆ เมื่อใดใครไม่เห็นด้วยกับภาพหรือข้อความใดก็จะไม่กดไลค์หรือแสดงความคิดเห็นต่อภาพหรือข้อความนั้นอย่างไม่ต้องกลัวว่าเจ้าของภาพหรือข้อความดังกล่าวจะทำร้ายตน ผลลัพธ์ที่ร้ายที่สุดก็คงจะมีแค่การปะทะทางวาจาให้แต่ละฝ่ายพิมพ์ความคิดเห็นของตนผ่านอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ตนใช้เชื่อมต่อโลกออนไลน์นี้อย่างเมื่อยล้า


เฟชบุ๊คเป็นของเล่นที่ผู้ใช้ไม่ต้องดัดจริตตามค่านิยมเรื่องการไม่เผชิญหน้าของคนไทย เพราะผู้ใช้เฟชบุ๊คไม่ต้องเผชิญหน้าใคร โดยจะแสดงความคิดเห็นของตนอย่างไรก็ได้ผ่านหน้าเฟชบุ๊คของตัวเอง ไม่ต้องรับรู้ว่าใครไม่ชอบภาพหรือข้อความของตนเพราะไม่มีปุ่มให้กดไม่ชอบ จะลบความคิดเห็นของคนที่ไม่ชอบก็ได้เมื่อคนเหล่านั้นแสดงความคิดเห็นในหน้าที่ตนเป็นเจ้าของ หรือจะตั้งค่าให้แต่คนที่เป็นเพื่อนของตนเห็นภาพหรือข้อความของตนเท่านั้นก็ได้ ผู้ใช้ไม่ต้องดัดจริตอีกต่อไปในโลกไซเบอร์แห่งนี้เพราะเมื่อใดไม่ชอบใครก็จะสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างไม่ต้องเกรงใจ หรือกลัวใครจะมาทำร้าย ผู้ใช้เฟชบุ๊คจึงกล้าเผชิญหน้าแสดงอำนาจอย่างที่ตนไม่สามารถทำได้ในโลกแห่งความจริง ผู้ใช้เฟชบุ๊คหลายคนคิดว่าพื้นที่ออนไลน์แห่งนี้เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล แต่พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลที่ไม่ลับเฉพาะบุคคล ดังนั้นพื้นที่แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่เสรีที่คนสามารถแสดงอคติแบบไม่ปกปิดผ่านคุณค่าบรรทัดฐาน และวัฒนธรรมของสังคมกระแสหลัก ยกตัวอย่างเช่นเมื่อใดมีคนหยิบยกเรื่องสิทธิของกะเทยขึ้นมาพูด หรือภาพของกะเทยแบบตลกขบขัน เราก็มักจะเห็นข้อความแสดงความคิดเห็นที่แฝงไปด้วยอคติและความรุนแรงผ่านพื้นที่ไซเบอร์นี้อย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม 


กะเทยอย่างชั้นเชื่อว่าคนไทยหลายคนคิดว่าสังคมไทยให้โอกาสกะเทย แต่ชั้นได้เรียนรู้จากพื้นที่ของโลกโซเชลมีเดียแห่งสังคมทุนนิยมนี้แล้วว่า กะเทยคงต้องทำงานกันหนักกว่าที่สังคมจะยอมรับกะเทยแบบที่กะเทยเป็น หรือแบบที่กะเทยอยากเป็น สังคมไทยบนโลกแห่งความเป็นจริงได้หลอกให้พวกเราเชื่อว่าสังคมแห่งนี้ไม่นิยมการเผชิญหน้าทำตัวเองประหนึ่งว่าใครจะเป็นเพศใดก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะไปยุ่ง เพราะ Your business is not my business! แต่ในความเป็นจริงที่ชั้นได้เรียนรู้ผ่านโลกเสมือนจริงนี้ ชั้นกลับได้สัมผัสประสบการณ์แบบตรงกันข้าม เพราะแท้จริงแล้วสังคมไทยยังให้ค่าของคนที่เป็นคนรักต่างเพศมากกว่าคนรักเพศเดียวกันหรือคนข้ามเพศ สังคมไทยลดทอนคุณค่าของคนที่ไม่ใช่เพศกระแสหลัก หรือคนที่ไม่ใช่หญิงหรือชายว่าเป็นคนผิดปกติ ผิดธรรมชาติ ตลกขบขัน หรือมองว่าคนที่ไม่ใช่หญิงหรือชายเป็นยอดมนุษย์เช่น สวยกว่าผู้หญิง หรือ มีพรสวรรค์กว่าหญิงหรือชายในการทำกิจกรรมบางประเภท ความคิดเห็นเหล่านี้หาอ่านได้ตามภาพ ข้อความ หรือหน้าเฟชบุ๊คที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆที่พูดถึงกะเทยหรือเฟชบุ๊คของคนที่นิยามตัวเองว่าเป็นกะเทย สาวประเภทสอง หรือผู้หญิงข้ามเพศ


ชั้นเชื่อว่าความรุนแรงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในโลกแห่งการกดไลค์นี้ เรามักได้เห็นความรุนแรงทางกายภาพบนสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงเชิงโครงสร้างแบบสังคมไทย ดังนั้นสำหรับชั้นแล้วเฟชบุ๊คของเซ็กซี่แพนเค้ก (Sexy Pancake) ที่มีคนกดไลค์เกือบครึ่งล้านจึงเป็นตัวอย่างที่ดีในสิ่งที่ชั้นได้สาธยายตามภาษากะเทยเพ้อเจ้อ เพราะคนที่กดไลค์เฟชบุ๊คของเธอไม่ได้มีแค่คนที่ให้กำลังใจและชื่นชมเธอเท่านั้น แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่แสดงความคิดเห็นที่แฝงอคติ และความคิดเห็นเชิงตลกขบขันที่อ่านแล้วไม่ขำ เพราะเป็นคำพูดที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์


ชั้นเชื่ออย่างหนักแน่นเหลือเกินว่าเฟชบุ๊คได้ทำให้กะเทยชนบทคนหนึ่งได้มีตัวตน และเป็นพื้นที่แห่งอำนาจที่กะเทยคนนี้จะใช้สื่อสารไปยังผู้ใช้เฟชบุ๊คคนอื่นให้ได้รู้จักในตัวตนที่เธออยากเป็น แม้ว่าการการสร้างตัวตนผ่านโลกเสมือนจริงแห่งนี้มีราคาเป็นการได้รับมาซึ่งความคิดเห็นทั้งทางบวกและทางลบ เฟชบุ๊คจึงเป็นของเล่นในโลกทุนนิยมที่เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ที่ผู้เล่นที่รู้จักเล่นจะได้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเผชิญอคติของสังคมนิยมรักต่างเพศแบบซึ่งหน้า ซึ่งโดยมากคนเหล่านั้นมักจะเป็นคนที่ดัดจริตในโลกแห่งความจริง แต่สามารถเป็นตัวเองในโลกไซเบอร์และแสดงความคิดเห็นในทางลบแบบไม่ดัดจริตกับคนอื่นๆได้อย่างไม่คิดซ้ำสอง ชั้นคิดว่าเราต้องยกย่องในความกล้าของเซ็กซี่แพนเค้กและพยายามเข้าใจสารที่เซ็กซี่แพนเค้กกำลังสื่อถึงคนที่กดไลค์เฟชบุ๊คของเธอ เพราะในความคิดของชั้นความตลกขบขันอาจจะเป็นเปลือกนอกที่เป็นแค่ภาพตัวแทนเพียงภาพเดียวที่ถูกสมาทานจากคนในสังคมไทยกับคนที่เรียกตัวเองว่ากะเทย


ถ้ามีโอกาสได้เจอเซ็กซี่แพนเค้กชั้นอยากบอกเธอให้เธอทำในสิ่งที่เธอเชื่อว่าเธอเป็น เพราะเธอเป็นคนที่เต็มไปด้วยความเข้มแข็งจากภายใน ที่สำหรับชั้นแล้วความเข้มแข็งภายในคือสมบัติสำคัญของบุคคลมากกว่ารูปลักษณะภายนอกของคนคนนั้น ความเข้มแข็งภายในช่วยสร้างพลังเชิงบวกให้กะเทยมองตัวเองในมุมบวก และความเข้มแข็งภายในนี้เองที่ทำให้กะเทยหลายคนยืดหยัดในสิ่งที่ตนเป็นโดยไม่สนใจกับความคิดเห็นที่แฝงไปด้วยอคติของคนในสังคม "หน้าไหว้หลังหลอก" แห่งนี้


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)

ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ: 1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย 2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทา...

หยุด "กลัว" กะเทย

“เกิดเป็นกะเทยเสียชาติเกิด” “กรรมเก่า … ทำความดีในชาตินี้จะได้เกิดเป็นชายจริงหญิงแท้ในชาติหน้า” “กะเทยควาย กะเทยหัวโปก กะเทยลูกเจี๊ยบ …” “กะเทยห้ามบวช ห้ามเป็นทหาร ห้ามเป็นหมอ ห้ามเป็นครูอาจารย์ ห้ามแต่งหญิงในที่ทำงาน!!!” “กะเทยต้องแต่งหน้า ทำผมเก่ง เต้นเก่ง และ “โม๊ก” เก่ง … ต้องตลก และมีอารมณ์ขัน” ฉันเชื่อว่ากะเทยหลายคนเติบโตมากับเสียงสะท้อนเหล่านี้จากสังคม คนรอบข้าง และจากเพื่อนกะเทยด้วยกัน หลายครั้งชีวิตของคนคนหนึ่งไม่ได้มีอิสระในการเลือกตามความเข้าใจของพวกเรา เมื่อ “ความเป็นเรา” ถูกทำให้เป็นอื่น หรือ “แปลก” และ “แตกต่าง” ความเป็นเราจึงถูกจำกัดทำให้บางครั้งคนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชีวิตแบบใด หรือมีความสนใจในเรื่องใด เพราะเขาหรือเธอไม่อยาก “แปลก” หรือให้ใครเห็นว่าพวกเขา“ต่าง” จากคนอื่นๆ เมื่อการเป็นกะเทยถูกทำให้เป็นเรื่อง “แปลก” ในสังคมไทยที่พร้อมจะตัดสินความแปลกเป็นความ“ผิด” หรือ “ผิดปกติ” เสียงสะท้อนจากสังคม คนรอบข้าง รวมถึงกะเทยคนอื่นๆ จึงจำกัดจินตนาการ และวิถีชีวิตที่หลากหลายของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ นอกจากนี้การตัดสินว่ากะเทยคนหนึ่งต้องทำหรือไม่ทำอ...

ถ้าวันหนึ่ง...

ถ้าวันหนึ่ง... ประชากรส่วนใหญ่บนโลกเป็นเกย์กะ เทยทอมดี้ ... คนรักต่างเพศจะเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ หญิง ผู้ชายสามารถท้องแทนภรรยาด้วยนว ัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ห้องน้ำไม่แยกหญิงชาย แต่เป็นห้องน้ำ Unisex ที่ใครเพศใดจะเข้าก็ได้  คนสามารถเลือกเพศได้ในเอกสารทาง ราชการ ... เลือกที่จะเป็นนางสาวหรือนางก็ไ ด้เมื่อแต่งงาน ใครจะแต่งงานกับใครก็ได้ เรื่องความรักเป็นเรื่องของคนสอ งคน ศาสนาจะไม่ใช่เหตุผลของการทำสงค ราม ระบบการศึกษาจะมีบทเรียนเรื่องเ พศสำหรับเยาวชน ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความเป็น เพศที่หลากหลาย ครูอาจารย์จะไม่ใช่ศูนย์กลางของ การเรียนการสอน แต่การศึกษาเป็นการสร้างการมีส่ วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนมีส่วนช่วยคิดแผนการ เรียน การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก ศาสนาจะไม่ใช่เครื่องมือตัดสินค วามผิดถูก แต่เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาความเ ป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์เพื่อนำไป สู่ความผาสุกของสังคม ประชาชนสามารถมีความคิดเห็นแตกต ่างทางการเมือง รัฐจะมีพื้นที่สำหรับคนที่เห็นต ่างได้แสดงออก (การเมืองแบบสองขั้วต่างเป็นการ เมืองที่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไ ตย) ระบบสาธา...