ช่วงนี้งานยุ่งมากจนไม่มีเวลาไปยุ่งเรื่องชาวบ้านตามประสาคนชอบยุ่ง แต่พอมาอ่านเจอบทความในเว็บบอร์ดของสมาคมฟ้าสีรุ้งฯ ที่ขึ้นชื่อหัวเรื่องว่า “แพทยสภาแกล้งหนู (ผู้หญิงข้ามเพศ)” สัญชาติญาณของคนชอบยุ่งก็ทำให้อดไม่ได้ที่จะเข้าไปอ่านสิ่งที่ถูกเขียนในนั้น ก่อนที่จะอ่านบทความดังกล่าว ยังเดาเล่นๆว่ามันน่าจะเกี่ยวกับเรื่องอะไรได้บ้าง สิ่งที่อยู่ในหัวตอนนั้น และพอจะคิดขึ้นมาได้ก็มีเรื่องการผ่าตัดลูกอัณฑะของหมอคนหนึ่งที่เป็นข่าวดังเมื่อไม่นานนี้ และเรื่องร่างข้อบังคับของแพทยสภา ว่าด้วยเรื่องการแปลงเพศ
“เอ้า…เดาถูกจริงๆ” เป็นอย่างที่คิดไว้ว่า บทความดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับเรื่องทั้งสองข้างต้น และเป็นบทความอ้างถึง “(ร่าง) ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การทำศัลยกรรมแปลงเพศ พ.ศ. …” ซึ่งเป็นร่างข้อบังคับเพื่อใช้กำหนดบทบาทของศัลยแพทย์ที่ทำการแปลงเพศ และเกณฑ์การคัดกรองบุคคลที่จะเข้ารับการแปลงเพศ ในบทความนี้ยังได้อ้างถึงกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทย ที่ออกมาแสดงความเห็นว่าพวกเธอเห็นด้วยในหลักเกณฑ์เบื้องต้น แต่มีคำถามมากมายในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าว ที่ทำให้เห็นว่า “พวกเธอไม่ได้เห็นด้วยเลยกับหลักเกณฑ์และรายละเอียดของข้อบังคับฯ” ทั้งยังได้เสนอแนะกระทรวงสาธารณสุข และแพทยสภาดำเนินการ ปรับเปลี่ยน แก้ไข และชะลอการตัดสินใจประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว
เนื่องจากเคยเห็นร่างข้อบังคับฉบับนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง จึงเห็นด้วยกับกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศฯว่า แพทยสภาไม่ได้มีความสนใจที่จะช่วยเหลือผู้หญิงข้ามเพศอย่างจริงจัง และไม่เข้าใจถึงความต้องการของบุคคลที่ต้องการทำศัลยกรรมแปลงเพศ ทั้งนี้เชื่อว่า ร่างแพทยสภาดังกล่าวนี้ถูกร่างขึ้นมาโดยไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ หากแต่ให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการ นั้นคือ “ศัลยแพทย์” เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าร่างดังกล่าวเอื้อประโยชน์กับคนเพียงบางกลุ่ม และเกิดคำถามตามมาว่า “มีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือไม่ในสภาอันทรงเกียรติของผู้ที่มีอาชีพเป็นแพทย์” หมายถึงการให้ความสำคัญของคนกลุ่มเดียวกัน โดยไม่คำนึงว่าผู้ได้รับผลกระทบจะเป็นอย่างไร
ร่างข้อบังคับนี้ยังตอกย้ำสังคมที่มีมิติโครงสร้างแบบชายเป็นใหญ่ (วิเคราะห์กันแบบเล่นๆ เราจะเห็นว่าแพทย์เพศชายจะมีอำนาจในการตัดสินใจในแพทยสภาเป็นส่วนใหญ่) ซึ่งเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับวาทกรรมทางการแพทย์ ให้มีอำนาจเหนือประชาชน และแพทย์ยังมีอำนาจที่จะตัดสินว่าคนที่เป็นกะเทยเป็นโรค ทั้งนี้ยังเสนอแนวทางในการรักษาโรค โดยไม่ได้คิดคำนึงเลยว่าสังคมที่เต็มไปด้วยอคติทางเพศต่อคนที่เป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นสังคมที่ป่วยและต้องได้รับการบำบัด การมีความคิดที่จะทำให้คนคนหนึ่งมีความสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางใจ คงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาการยอมรับคนเป็นกะเทยในสังคมที่เจ็บป่วย หากแต่ควรมีมาตรการเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือรักษาเยียวยาโครงสร้างของสังคมที่เต็มไปด้วยอคติแห่งเพศ ให้กลายเป็นสังคมของคนที่มีความแตกต่างหลากหลายสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขเห็นจะเป็นทางออกเสียมากกว่า
เอาล่ะ…มาตรการที่ว่าคงจะทำได้ไม่ง่ายนัก และไม่ใช่ว่าใครจะทำได้ในวันเดียว ใครจะบ้าหรือมีอำนาจพอที่จะเปลี่ยนวาทกรรมทางการแพทย์ ที่เต็มไปด้วยอำนาจในสังคมแบบชายเป็นใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีใครกล้าทำ อันที่จริงเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคงต้องเริ่มเปลี่ยนจากตัวเราให้มีอำนาจภายในเพื่อที่จะอยู่กับสังคมที่ต้องได้รับการเยียวยานี้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสังคมมีจุดสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา ให้รู้เท่าทันสิ่งที่เป็นไปในสังคมทั้งระบบ และรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากโครงสร้างของสังคมที่ใช้อำนาจเหนือ และให้คุณค่ากับคนที่มีอำนาจเหล่านั้น
ทั้งนี้คนทำงานเรื่องสิทธิเพื่อคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอง จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าเรากำลังต่อสู้กับอะไร จากกรณีของแพทยสภานี้ ทำให้เห็นว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์ โดยการไปร้องขอให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับ หรือไปสอนให้พวกเขาเข้าใจว่าใครเพศใดแตกต่างกันอย่างไร แต่ต้องทำความเข้าใจว่าเรากำลังต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจ และควรจะต้องใช้ความพยายามในการจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดอำนาจร่วมในโครงสร้างนั้น แม้ว่าจะทำได้ยาก แต่การเข้าไปมีส่วนร่วมโดยรู้เท่าทันสิ่งที่เรากำลังทำ คนที่ต้องไปสัมพันธ์ด้วย และมีเป้าหมายหรือจุดยืนที่ชัดเจน ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
จึงอยากจะแสดงความคิดเห็นด้วยความรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนๆกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศว่า พวกเธอควรจะต้องหยุด…คิดซักนิดว่า อะไรคือเป้าหมายและจุดยืนในการทำงานของกลุ่ม ซึ่งถ้าการทำงานของพวกเธอคือการทำงานเรื่องสิทธิของหญิงข้ามเพศแล้ว ด้วยการให้ความหมายของคำว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” หมายถึง คนที่เกิดมาเป็นเพศชายที่ต้องการแปลงเพศเป็นหญิง และคนที่ผ่านการแปลงเพศมาแล้ว โดยแบ่งแยกคนที่ไม่ต้องการแปลงเพศออกไปอีกกลุ่ม จะเป็นนิยามที่ผลิตซ้ำโครงสร้างอำนาจแบบเดิมๆ และไม่คำนึงถึงมิติด้านความหลากหลายของมนุษย์ ที่มีที่มาที่ไปที่แตกต่าง เอาเข้าจริงคำว่าผู้หญิงข้ามเพศ เป็นคำที่แปลจากภาษาอังกฤษของคำว่า “ทรานเจนเดอร์ (Transgender)” ที่ถูกใช้แทนคำว่า “กะเทย” ซึ่งหมายถึงคนที่ปรารถนาที่จะใช้วิถีชีวิตจากชายเป็นหญิง ไม่วาจะแปลงเพศแล้วหรือไม่
ดังนั้นต้องทำความเข้าใจว่าตัวตนคนข้ามเพศและกะเทยถูกประกอบสร้างโดยสังคมวัฒนธรรมอย่างแนบเนียน และการแปลงเพศเป็นกลไกหนึ่งเพื่อสร้างตัวตนหนึ่งที่เกิดจากอิทธิพลของสังคมวัฒนธรรมนั้นๆ เราไม่ได้ถกเถียงเรื่องควรหรือไม่ควรใช้คำว่าผู้หญิงข้ามเพศเป็นชื่อกลุ่ม แต่การนิยามคำว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” ที่คับแคบย่อมส่งผลกระทบ เพราะกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศควรจะเป็นเสมือนตัวแทนกะเทยทุกกลุ่ม ชนชั้น อาชีพ ภูมิลำเนา ทั้งคนที่ต้องการหรือไม่ต้องการแปลงเพศ เนื่องจากสุดท้ายกะเทยก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสังคมวัฒนธรรมแบบเดียวกัน สังคมและวัฒนธรรมที่เอื้อประโยชน์ให้วาทกรรมทางการแพทย์สามารถระบุว่ากะเทยเป็นโรค ควรได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแปลงเพศ และจบลงที่การใช้ชีวิตเป็นหญิงข้ามเพศในสังคมแบบรักต่างเพศนิยม ที่สุดท้ายปัญหาของกะเทยก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่อย่างนั้น ไม่ว่ากะเทยคนนั้นจะแปลงเพศหรือไม่ก็ตาม
คำถามต่อการทำงานในประเด็นข้อกำหนดแพทยสภาฯของกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศคือ กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศมีความเชื่อที่ว่าผู้หญิงข้ามเพศทุกคนต้องการแปลงเพศ และเพศสมบูรณ์วัดที่การมีเครื่องเพศที่ตรงกับจิตใจแค่นั้นหรือ แม้ว่าการแปลงเพศจะถูกมองว่าเป็นการรักษาโรคทางจิตเวช หากแต่กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศไม่ต้องการหรือที่จะทำงานร่วมกับแพทยสภาเพื่อทำให้การเป็นผู้หญิงข้ามเพศ หรือกะเทยเป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติ เช่นเดียวกับครั้งหนึ่งคนรักเพศเดียวกันถูกถอดถอนจากบัญชีการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก และระบบการจำแนกโรคทางจิตเวชสากลของสมาคมสุขวิทยาจิตแห่งอเมริกา ส่งผลให้การเป็นคนรักเพศเดียวกัน (ที่ไม่ได้รวมคนข้ามเพศ) ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตอีกต่อไป
นอกจากนี้กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศยินยอมอย่างนั้นหรือที่จะตกอยู่ภายใต้อำนาจโดยให้คนอื่น ที่ไม่ใช่ตัวเรามาตัดสินว่าเราควรหรือไม่ควรทำอะไรกับร่างกายของเรา เพราะการแปลงเพศย่อมเป็นทางเลือกของคนคนหนึ่ง (ที่มีข้อมูลที่ดีพอต่อการตัดสินใจ และมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย และจิตใจ) แม้ว่าคนที่นิยามว่าตนเป็นผู้หญิงข้ามเพศจะไม่แปลงเพศก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แม้กระทั่งกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศเองก็ไม่สามารถบอกว่าใครเป็นหรือไม่เป็นผู้หญิงข้ามเพศ แตกต่างหรือไม่แตกต่างจากคนที่เรียกตนเองเป็นกะเทย หรือเกย์ ใช่หรือไม่ใช่วัดกันที่ไหน เรามักจะหลงลืม และไม่เท่าทันว่าสังคมวัฒนธรรมมีอำนาจเหนือพวกเราเพียงใด จนบางครั้งผลผลิตทางความคิด และพฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเหนือคนอีกกลุ่ม
กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศควรต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมเชิงความคิดไปกับแพทยสภา การตั้งคำถามมากมายไม่เกิดประโยชน์ เพราะแพทย์ไม่เข้าใจ และไม่พร้อมจะสยบยอมกับสิ่งที่ถูกวิพากษ์ นอกจากนี้การทำงานควรต้องรัดกุม และไม่ส่งผลกระเทือนต่อสมาชิกคนอื่นๆในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศ คำกล่าวที่ว่าอำนาจเป็นสิ่งที่หอมหวานเป็นจริง การใช้อำนาจอย่างรู้เท่าทันย่อมต้องเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศบอกว่ากลุ่มตนเป็นตัวแทนของคนข้ามเพศ หรือกะเทย ก็ต้องหยุด…คิดถึงบทบาท และจุดยืนที่เริ่มด้วยเจตนาที่ดีของกลุ่ม ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม และช่วยคนในชุมชน หรือใช้อำนาจเหนือคนอื่นๆ เฉกเช่นกรณีเดียวกับ (ร่าง) ข้อบังคับของแพทยสภาฯ นี้
“เอ้า…เดาถูกจริงๆ” เป็นอย่างที่คิดไว้ว่า บทความดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับเรื่องทั้งสองข้างต้น และเป็นบทความอ้างถึง “(ร่าง) ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การทำศัลยกรรมแปลงเพศ พ.ศ. …” ซึ่งเป็นร่างข้อบังคับเพื่อใช้กำหนดบทบาทของศัลยแพทย์ที่ทำการแปลงเพศ และเกณฑ์การคัดกรองบุคคลที่จะเข้ารับการแปลงเพศ ในบทความนี้ยังได้อ้างถึงกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทย ที่ออกมาแสดงความเห็นว่าพวกเธอเห็นด้วยในหลักเกณฑ์เบื้องต้น แต่มีคำถามมากมายในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าว ที่ทำให้เห็นว่า “พวกเธอไม่ได้เห็นด้วยเลยกับหลักเกณฑ์และรายละเอียดของข้อบังคับฯ” ทั้งยังได้เสนอแนะกระทรวงสาธารณสุข และแพทยสภาดำเนินการ ปรับเปลี่ยน แก้ไข และชะลอการตัดสินใจประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว
เนื่องจากเคยเห็นร่างข้อบังคับฉบับนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง จึงเห็นด้วยกับกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศฯว่า แพทยสภาไม่ได้มีความสนใจที่จะช่วยเหลือผู้หญิงข้ามเพศอย่างจริงจัง และไม่เข้าใจถึงความต้องการของบุคคลที่ต้องการทำศัลยกรรมแปลงเพศ ทั้งนี้เชื่อว่า ร่างแพทยสภาดังกล่าวนี้ถูกร่างขึ้นมาโดยไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ หากแต่ให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการ นั้นคือ “ศัลยแพทย์” เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าร่างดังกล่าวเอื้อประโยชน์กับคนเพียงบางกลุ่ม และเกิดคำถามตามมาว่า “มีการเล่นพรรคเล่นพวกหรือไม่ในสภาอันทรงเกียรติของผู้ที่มีอาชีพเป็นแพทย์” หมายถึงการให้ความสำคัญของคนกลุ่มเดียวกัน โดยไม่คำนึงว่าผู้ได้รับผลกระทบจะเป็นอย่างไร
ร่างข้อบังคับนี้ยังตอกย้ำสังคมที่มีมิติโครงสร้างแบบชายเป็นใหญ่ (วิเคราะห์กันแบบเล่นๆ เราจะเห็นว่าแพทย์เพศชายจะมีอำนาจในการตัดสินใจในแพทยสภาเป็นส่วนใหญ่) ซึ่งเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับวาทกรรมทางการแพทย์ ให้มีอำนาจเหนือประชาชน และแพทย์ยังมีอำนาจที่จะตัดสินว่าคนที่เป็นกะเทยเป็นโรค ทั้งนี้ยังเสนอแนวทางในการรักษาโรค โดยไม่ได้คิดคำนึงเลยว่าสังคมที่เต็มไปด้วยอคติทางเพศต่อคนที่เป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นสังคมที่ป่วยและต้องได้รับการบำบัด การมีความคิดที่จะทำให้คนคนหนึ่งมีความสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางใจ คงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาการยอมรับคนเป็นกะเทยในสังคมที่เจ็บป่วย หากแต่ควรมีมาตรการเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือรักษาเยียวยาโครงสร้างของสังคมที่เต็มไปด้วยอคติแห่งเพศ ให้กลายเป็นสังคมของคนที่มีความแตกต่างหลากหลายสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขเห็นจะเป็นทางออกเสียมากกว่า
เอาล่ะ…มาตรการที่ว่าคงจะทำได้ไม่ง่ายนัก และไม่ใช่ว่าใครจะทำได้ในวันเดียว ใครจะบ้าหรือมีอำนาจพอที่จะเปลี่ยนวาทกรรมทางการแพทย์ ที่เต็มไปด้วยอำนาจในสังคมแบบชายเป็นใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีใครกล้าทำ อันที่จริงเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคงต้องเริ่มเปลี่ยนจากตัวเราให้มีอำนาจภายในเพื่อที่จะอยู่กับสังคมที่ต้องได้รับการเยียวยานี้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสังคมมีจุดสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา ให้รู้เท่าทันสิ่งที่เป็นไปในสังคมทั้งระบบ และรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากโครงสร้างของสังคมที่ใช้อำนาจเหนือ และให้คุณค่ากับคนที่มีอำนาจเหล่านั้น
ทั้งนี้คนทำงานเรื่องสิทธิเพื่อคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอง จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าเรากำลังต่อสู้กับอะไร จากกรณีของแพทยสภานี้ ทำให้เห็นว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์ โดยการไปร้องขอให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับ หรือไปสอนให้พวกเขาเข้าใจว่าใครเพศใดแตกต่างกันอย่างไร แต่ต้องทำความเข้าใจว่าเรากำลังต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจ และควรจะต้องใช้ความพยายามในการจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดอำนาจร่วมในโครงสร้างนั้น แม้ว่าจะทำได้ยาก แต่การเข้าไปมีส่วนร่วมโดยรู้เท่าทันสิ่งที่เรากำลังทำ คนที่ต้องไปสัมพันธ์ด้วย และมีเป้าหมายหรือจุดยืนที่ชัดเจน ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
จึงอยากจะแสดงความคิดเห็นด้วยความรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนๆกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศว่า พวกเธอควรจะต้องหยุด…คิดซักนิดว่า อะไรคือเป้าหมายและจุดยืนในการทำงานของกลุ่ม ซึ่งถ้าการทำงานของพวกเธอคือการทำงานเรื่องสิทธิของหญิงข้ามเพศแล้ว ด้วยการให้ความหมายของคำว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” หมายถึง คนที่เกิดมาเป็นเพศชายที่ต้องการแปลงเพศเป็นหญิง และคนที่ผ่านการแปลงเพศมาแล้ว โดยแบ่งแยกคนที่ไม่ต้องการแปลงเพศออกไปอีกกลุ่ม จะเป็นนิยามที่ผลิตซ้ำโครงสร้างอำนาจแบบเดิมๆ และไม่คำนึงถึงมิติด้านความหลากหลายของมนุษย์ ที่มีที่มาที่ไปที่แตกต่าง เอาเข้าจริงคำว่าผู้หญิงข้ามเพศ เป็นคำที่แปลจากภาษาอังกฤษของคำว่า “ทรานเจนเดอร์ (Transgender)” ที่ถูกใช้แทนคำว่า “กะเทย” ซึ่งหมายถึงคนที่ปรารถนาที่จะใช้วิถีชีวิตจากชายเป็นหญิง ไม่วาจะแปลงเพศแล้วหรือไม่
ดังนั้นต้องทำความเข้าใจว่าตัวตนคนข้ามเพศและกะเทยถูกประกอบสร้างโดยสังคมวัฒนธรรมอย่างแนบเนียน และการแปลงเพศเป็นกลไกหนึ่งเพื่อสร้างตัวตนหนึ่งที่เกิดจากอิทธิพลของสังคมวัฒนธรรมนั้นๆ เราไม่ได้ถกเถียงเรื่องควรหรือไม่ควรใช้คำว่าผู้หญิงข้ามเพศเป็นชื่อกลุ่ม แต่การนิยามคำว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” ที่คับแคบย่อมส่งผลกระทบ เพราะกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศควรจะเป็นเสมือนตัวแทนกะเทยทุกกลุ่ม ชนชั้น อาชีพ ภูมิลำเนา ทั้งคนที่ต้องการหรือไม่ต้องการแปลงเพศ เนื่องจากสุดท้ายกะเทยก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสังคมวัฒนธรรมแบบเดียวกัน สังคมและวัฒนธรรมที่เอื้อประโยชน์ให้วาทกรรมทางการแพทย์สามารถระบุว่ากะเทยเป็นโรค ควรได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแปลงเพศ และจบลงที่การใช้ชีวิตเป็นหญิงข้ามเพศในสังคมแบบรักต่างเพศนิยม ที่สุดท้ายปัญหาของกะเทยก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่อย่างนั้น ไม่ว่ากะเทยคนนั้นจะแปลงเพศหรือไม่ก็ตาม
คำถามต่อการทำงานในประเด็นข้อกำหนดแพทยสภาฯของกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศคือ กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศมีความเชื่อที่ว่าผู้หญิงข้ามเพศทุกคนต้องการแปลงเพศ และเพศสมบูรณ์วัดที่การมีเครื่องเพศที่ตรงกับจิตใจแค่นั้นหรือ แม้ว่าการแปลงเพศจะถูกมองว่าเป็นการรักษาโรคทางจิตเวช หากแต่กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศไม่ต้องการหรือที่จะทำงานร่วมกับแพทยสภาเพื่อทำให้การเป็นผู้หญิงข้ามเพศ หรือกะเทยเป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติ เช่นเดียวกับครั้งหนึ่งคนรักเพศเดียวกันถูกถอดถอนจากบัญชีการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก และระบบการจำแนกโรคทางจิตเวชสากลของสมาคมสุขวิทยาจิตแห่งอเมริกา ส่งผลให้การเป็นคนรักเพศเดียวกัน (ที่ไม่ได้รวมคนข้ามเพศ) ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตอีกต่อไป
นอกจากนี้กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศยินยอมอย่างนั้นหรือที่จะตกอยู่ภายใต้อำนาจโดยให้คนอื่น ที่ไม่ใช่ตัวเรามาตัดสินว่าเราควรหรือไม่ควรทำอะไรกับร่างกายของเรา เพราะการแปลงเพศย่อมเป็นทางเลือกของคนคนหนึ่ง (ที่มีข้อมูลที่ดีพอต่อการตัดสินใจ และมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย และจิตใจ) แม้ว่าคนที่นิยามว่าตนเป็นผู้หญิงข้ามเพศจะไม่แปลงเพศก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แม้กระทั่งกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศเองก็ไม่สามารถบอกว่าใครเป็นหรือไม่เป็นผู้หญิงข้ามเพศ แตกต่างหรือไม่แตกต่างจากคนที่เรียกตนเองเป็นกะเทย หรือเกย์ ใช่หรือไม่ใช่วัดกันที่ไหน เรามักจะหลงลืม และไม่เท่าทันว่าสังคมวัฒนธรรมมีอำนาจเหนือพวกเราเพียงใด จนบางครั้งผลผลิตทางความคิด และพฤติกรรมของคนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเหนือคนอีกกลุ่ม
กลุ่มผู้หญิงข้ามเพศควรต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมเชิงความคิดไปกับแพทยสภา การตั้งคำถามมากมายไม่เกิดประโยชน์ เพราะแพทย์ไม่เข้าใจ และไม่พร้อมจะสยบยอมกับสิ่งที่ถูกวิพากษ์ นอกจากนี้การทำงานควรต้องรัดกุม และไม่ส่งผลกระเทือนต่อสมาชิกคนอื่นๆในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศ คำกล่าวที่ว่าอำนาจเป็นสิ่งที่หอมหวานเป็นจริง การใช้อำนาจอย่างรู้เท่าทันย่อมต้องเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศบอกว่ากลุ่มตนเป็นตัวแทนของคนข้ามเพศ หรือกะเทย ก็ต้องหยุด…คิดถึงบทบาท และจุดยืนที่เริ่มด้วยเจตนาที่ดีของกลุ่ม ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม และช่วยคนในชุมชน หรือใช้อำนาจเหนือคนอื่นๆ เฉกเช่นกรณีเดียวกับ (ร่าง) ข้อบังคับของแพทยสภาฯ นี้
![]() |
ภาพจากงานวันสิทธิความหลากหลาย วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551 |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น