ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อทอมดี้กอดจูบกันบนรถไฟฟ้า...

จากปรากฏการณ์ทอมดี้กอดจูบกันบนรถไฟฟ้า ฉันมีความคิดเห็น (ส่วนตัว) ดังนี้

1. เราคิดว่าสังคมไทยกำลังจัดการกับปรากฏการณ์ลักษณะนี้โดยใช้กรอบศีลธรรมมาตัดสิน ซึ่งส่วนตัวมองว่ากรอบศีลธรรมเป็นกรอบที่แคบมาก เพราะจะจำกัดผลของการตัดสินแค่ "ผิด" หรือ "ถูก" การอธิบายความโดยใช้กรอบศีลธรรมไม่นำปัจจัยด้านอื่นๆ เช่นข้อจำกัดส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม มาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์  แต่อธิบายโดยยึดบรรทัดฐาน ประเพณีนิยม และแบบแผนปฏิบัติ ละเลยการมองมนุษย์แบบมนุษย์ และไม่ตั้งคำถามกับประเพณี วัฒนธรรม บรรทัดฐานที่ล้วนถูกประกอบสร้างผ่านกาลเวลา และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กรอบศีลธรรมยังถูกใช้กดขี่กลุ่มคนที่มีอำนาจน้อยและมีความลำบากในการเข้าถึงทรัพยากรทางสังคม เช่น คนชนชั้นแรงงาน ผู้หญิงและเด็ก ผู้ใช้ยา พนักงานบริการ กะเทย ... กรอบศีลธรรมจึงเป็นกรอบการตัดสินที่ "ไม่เป็นธรรม" เพราะถูกใช้อธิบายจากคนที่เข้าถึงทรัพยากรทางสังคม หรืือมีต้นทุนทางสังคมมากกว่าใช้เพื่อควบคุมคนที่มีสถานะด้อยกว่า เช่น คนชนชั้นกลางพูดถึงปัญหาความยากจนของคนชนชั้นแรงงาน คนมีการศึกษาพูดถึงคนที่ไม่ได้รับโอกาสในการศึกษา คนรักต่างเพศมองความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกัน คนทำงานออฟฟิชพูดถึงคนทำงานขายบริการ


2. เรากำลังคิดเรื่อง social resistance ต่อประเด็นความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเราสังเกตว่ามีระดับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น มีกระแสต่อต้านมากขึ้น การการจับจ้องจากสังคม (ที่เต็มไปด้วยการตัดสินโดยใช้กรอบศีลธรรมแบบไทย) มากขึ้น เนื่องจาก 1.คนมีความหลากหลายทางเพศเปิดเผยตัวมากขึ้น และปรากฎในสื่อกระแสหลักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การปรากฏตัวของ LGBT ยังเป็นลักษณะภาพตัวแทน ที่ขาดความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ด้านอื่น คือ การปรากฏตัวของ LGBT ยังจำกัดเพียงแค่การมีตัวตน แต่ไม่ครอบคลุมความหลากหลายทางเพศวิถี วัย เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สีผิว การศึกษา อาชีพ ฯลฯ 2. คนทำงานสิทธินุษยชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศขับเคลื่อนประเด็นสิทธิฯของ LGBT เป็นสิทธิพลเมือง คือ LGBT ควรได้รับสิทธิฯเท่าเทียมกับชายและหญิง ทำให้คนรักต่างเพศเกิดอาการ Gay panic และ Trans panic กลัวว่าสังคมไทยจะเต็มไปด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ บ่อยครั้งใช้คำอธิบายว่า เยาวชน (อนาคตของชาติ ที่ต้องดำรงแบบแผนไทย) จะเลียนแบบ และกลายเป็นพลเมืองที่ไร้สมรรถภาพ (เช่น สมรรถภาพในการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่าความสุขของพลเมืองที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามความต้องการของตนเอง และได้รับการเคารพจากคนอื่นๆ) 3. กระแสโลกาภิวัฒน์กำลังทำงานต้านกระแสความเป็นไทย ความเป็นไทยที่พวกเราต้องดำรงรักษา เป็นวาระแห่งชาติ ที่คนไทยเองยังขาดความรู้ว่าอะไรคือความเป็นไทยกันแน่ หลายครั้งการตีความเรื่อง "ความเป็นไทย" เป็นการตีความที่คลุมเคลือ (เอาเข้าจริง...ประวัติศาสาตร์ชาติไทยก็ตกหล่น จากการถูกเขียนโดยคนที่เป็นเจ้าขุนมูลนาย ที่เป็นผู้ชายเสียส่วนใหญ่) ดังนั้น เมื่อพูดถึงความเป็นไทย เรามักจะพูดถึงความเป็นไทยแบบคนชนชั้นกลางเพียงเท่านั้น 


3. แน่นอนว่าปรากฏการณ์กอดจูบของทอมดี้บนรถไฟฟ้าของทอมดี้จะขัดสายตาคนทั่วไป และสร้างความไม่เข้าใจกับคนไทย เนื่องจาก 1. สังคมไทยเป็นสังคมลักปิดลักเปิด คือ เปิดรับเพียงบางเรื่องกับคนบางกลุ่ม และเพียงบางแห่ง (พื้นที่) พื้นที่ทางสังคมยังเป็นพื้นที่ที่ให้โอกาสกับคนที่เป็นคนรักต่างเพศ ผู้ชาย คนชนชั้นกลาง คนที่ดำรงความเป็นชาย (ได้มากกว่าคนอื่น) เป็นพิ้นที่ที่ตัดสินคนแบบ 2 มาตราฐาน และนำมาตราฐานชุดใดชุดหนึ่งมาจัดการตัดสินคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าหลายครั้งคนที่เป็น LGBT เองก็ถูกทำให้เชื่อแบบนั้นด้วย ขอยกตัวอย่าง "กุลเกย์" vs "กะเทยชาวบ้าน" หรือกรณี ผู้หญิงห้ามขึ้นพระธาตุเมื่อหลายปีก่อน กรณีน้องกะเทยสองคนเต้นเปลือยเพลงแน่นอก กรณีภิกษุณีในพุทธศาสนา กรณีเปิดเต้าวันสงกรานต์ ฯลฯ 2. คำถามที่ต้องตอบให้ได้เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์นี้คือ ใครกันที่เกิดความรู้สึกโกรธและอึดอัด? ทอมดี้คู่นั้น หรือ คนที่ด่าว่าคนทั้งคู่ เป็นไปได้หรือไม่ว่าคนที่ด่าว่าคนทั้งคู่รู้สึกอึดอัด และพยายามจัดการกับความรู้สึกตัวเองโดยการกล่าวโทษ หรือทำให้ทอมดี้เป็นฝ่ายผิดที่ทำให้ตนอึดอัด แน่นอนว่าความรู้สึกอึดอัดสามารถเกิดกับทุกคนเนื่องจากชุดความคิดความเชื่อชุดใดชุดหนึ่ง (เช่น เกิดจากความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน เกิดจากชุดประสบการณ์ ชุดศีลธรรมความเชื่อ ความเชื่อเรื่องเพศมีแค่สองเพศ ฯลฯ)? ใครเป็นปัญหา หรือตัวก่อปัญหากันแน่ในกรณีนี้? 3. กาลเทศะของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถเป็นแบบแผนปฏิบัติของคนอีกกลุ่มหนึ่งได้ พวกเรากำลังอาศัยอยู่ในสังคมเมืองกรุงที่หลีกหนีจากความหลากหลายทางอัตลักษณ์ และชุดประสบการณ์ไม่ได้ การเอากาลเทศะของเราไปตัดสินกาลเทศะของคนอื่นนั้นเหมาะสมแล้วหรือ? พอเกิดความขัดแย้งก็อ้างว่ามารยาทของตนเป็นแบบแผนปฏิบัติของคนส่วนใหญ่ เบียดขับคนกลุ่มเล็กให้จำนนว่าพวกเขาทำผิด เกิดความขัดแย้งแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า 


ขอแชร์แค่นี้ก่อน เดี๋ยวจะยาว ... ถ้าพรุ่งนี้จะมีการรณรงค์จุมพิตบนรถไฟฟ้า ฉันจะซื้อตั๋วเครื่องบิน บินไปร่วมงานนี้ เพราะฉันกำลังคิดว่า สังคมไทยต้องมีความหลากหลายพอ และหยุดใช้ความเป็นไทยมาจำกัดสิทธิเสรีภาพ จินตการของคนไทย ... ประเทศไทยกำลังพัฒนา และเราคงจะย่ำอยู่กับที่ถ้าเรายังมีจิตนาการที่คับแคบ และมองเรื่องสิทธิเสรีภาพในมุมที่คับแคบ ผ่านกรอบศีลธรรมที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นธรรมกับคนทุกเพศและชนชั้น sign.


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)

ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ: 1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย 2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทา...

หยุด "กลัว" กะเทย

“เกิดเป็นกะเทยเสียชาติเกิด” “กรรมเก่า … ทำความดีในชาตินี้จะได้เกิดเป็นชายจริงหญิงแท้ในชาติหน้า” “กะเทยควาย กะเทยหัวโปก กะเทยลูกเจี๊ยบ …” “กะเทยห้ามบวช ห้ามเป็นทหาร ห้ามเป็นหมอ ห้ามเป็นครูอาจารย์ ห้ามแต่งหญิงในที่ทำงาน!!!” “กะเทยต้องแต่งหน้า ทำผมเก่ง เต้นเก่ง และ “โม๊ก” เก่ง … ต้องตลก และมีอารมณ์ขัน” ฉันเชื่อว่ากะเทยหลายคนเติบโตมากับเสียงสะท้อนเหล่านี้จากสังคม คนรอบข้าง และจากเพื่อนกะเทยด้วยกัน หลายครั้งชีวิตของคนคนหนึ่งไม่ได้มีอิสระในการเลือกตามความเข้าใจของพวกเรา เมื่อ “ความเป็นเรา” ถูกทำให้เป็นอื่น หรือ “แปลก” และ “แตกต่าง” ความเป็นเราจึงถูกจำกัดทำให้บางครั้งคนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชีวิตแบบใด หรือมีความสนใจในเรื่องใด เพราะเขาหรือเธอไม่อยาก “แปลก” หรือให้ใครเห็นว่าพวกเขา“ต่าง” จากคนอื่นๆ เมื่อการเป็นกะเทยถูกทำให้เป็นเรื่อง “แปลก” ในสังคมไทยที่พร้อมจะตัดสินความแปลกเป็นความ“ผิด” หรือ “ผิดปกติ” เสียงสะท้อนจากสังคม คนรอบข้าง รวมถึงกะเทยคนอื่นๆ จึงจำกัดจินตนาการ และวิถีชีวิตที่หลากหลายของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ นอกจากนี้การตัดสินว่ากะเทยคนหนึ่งต้องทำหรือไม่ทำอ...

ถ้าวันหนึ่ง...

ถ้าวันหนึ่ง... ประชากรส่วนใหญ่บนโลกเป็นเกย์กะ เทยทอมดี้ ... คนรักต่างเพศจะเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ หญิง ผู้ชายสามารถท้องแทนภรรยาด้วยนว ัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ห้องน้ำไม่แยกหญิงชาย แต่เป็นห้องน้ำ Unisex ที่ใครเพศใดจะเข้าก็ได้  คนสามารถเลือกเพศได้ในเอกสารทาง ราชการ ... เลือกที่จะเป็นนางสาวหรือนางก็ไ ด้เมื่อแต่งงาน ใครจะแต่งงานกับใครก็ได้ เรื่องความรักเป็นเรื่องของคนสอ งคน ศาสนาจะไม่ใช่เหตุผลของการทำสงค ราม ระบบการศึกษาจะมีบทเรียนเรื่องเ พศสำหรับเยาวชน ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความเป็น เพศที่หลากหลาย ครูอาจารย์จะไม่ใช่ศูนย์กลางของ การเรียนการสอน แต่การศึกษาเป็นการสร้างการมีส่ วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนมีส่วนช่วยคิดแผนการ เรียน การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก ศาสนาจะไม่ใช่เครื่องมือตัดสินค วามผิดถูก แต่เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาความเ ป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์เพื่อนำไป สู่ความผาสุกของสังคม ประชาชนสามารถมีความคิดเห็นแตกต ่างทางการเมือง รัฐจะมีพื้นที่สำหรับคนที่เห็นต ่างได้แสดงออก (การเมืองแบบสองขั้วต่างเป็นการ เมืองที่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไ ตย) ระบบสาธา...