ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ถ้าวันหนึ่ง...

ถ้าวันหนึ่ง...

ประชากรส่วนใหญ่บนโลกเป็นเกย์กะเทยทอมดี้ ... คนรักต่างเพศจะเป็นคนกลุ่มน้อย

ผู้ปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

ผู้ชายสามารถท้องแทนภรรยาด้วยนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์

ห้องน้ำไม่แยกหญิงชาย แต่เป็นห้องน้ำ Unisex ที่ใครเพศใดจะเข้าก็ได้ 

คนสามารถเลือกเพศได้ในเอกสารทางราชการ ... เลือกที่จะเป็นนางสาวหรือนางก็ได้เมื่อแต่งงาน

ใครจะแต่งงานกับใครก็ได้ เรื่องความรักเป็นเรื่องของคนสองคน

ศาสนาจะไม่ใช่เหตุผลของการทำสงคราม

ระบบการศึกษาจะมีบทเรียนเรื่องเพศสำหรับเยาวชน ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความเป็นเพศที่หลากหลาย

ครูอาจารย์จะไม่ใช่ศูนย์กลางของการเรียนการสอน แต่การศึกษาเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนมีส่วนช่วยคิดแผนการเรียน

การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก ศาสนาจะไม่ใช่เครื่องมือตัดสินความผิดถูก แต่เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความผาสุกของสังคม

ประชาชนสามารถมีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง รัฐจะมีพื้นที่สำหรับคนที่เห็นต่างได้แสดงออก (การเมืองแบบสองขั้วต่างเป็นการเมืองที่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไตย)

ระบบสาธารณสุขเป็นบริการทางสังคมสำหรับคนทุกชนชั้น วาทกรรมทางการแพทย์จะไม่ใช่วาทกรรมที่กดทับคนบางกลุ่ม หรือเอื้อประโยชน์กับคนแค่บางกลุ่ม

ผู้มีอำนาจในสังคมจะเรียนรู้การใช้อำนาจแบบ "อำนาจร่วม" แทนการใช้อำนาจแบบ"อำนาจเหนือ"

ถ้าวันหนึ่ง ... เราจะเห็นโลกเปลี่ยนไป




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)

ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ: 1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย 2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทา...

หยุด "กลัว" กะเทย

“เกิดเป็นกะเทยเสียชาติเกิด” “กรรมเก่า … ทำความดีในชาตินี้จะได้เกิดเป็นชายจริงหญิงแท้ในชาติหน้า” “กะเทยควาย กะเทยหัวโปก กะเทยลูกเจี๊ยบ …” “กะเทยห้ามบวช ห้ามเป็นทหาร ห้ามเป็นหมอ ห้ามเป็นครูอาจารย์ ห้ามแต่งหญิงในที่ทำงาน!!!” “กะเทยต้องแต่งหน้า ทำผมเก่ง เต้นเก่ง และ “โม๊ก” เก่ง … ต้องตลก และมีอารมณ์ขัน” ฉันเชื่อว่ากะเทยหลายคนเติบโตมากับเสียงสะท้อนเหล่านี้จากสังคม คนรอบข้าง และจากเพื่อนกะเทยด้วยกัน หลายครั้งชีวิตของคนคนหนึ่งไม่ได้มีอิสระในการเลือกตามความเข้าใจของพวกเรา เมื่อ “ความเป็นเรา” ถูกทำให้เป็นอื่น หรือ “แปลก” และ “แตกต่าง” ความเป็นเราจึงถูกจำกัดทำให้บางครั้งคนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชีวิตแบบใด หรือมีความสนใจในเรื่องใด เพราะเขาหรือเธอไม่อยาก “แปลก” หรือให้ใครเห็นว่าพวกเขา“ต่าง” จากคนอื่นๆ เมื่อการเป็นกะเทยถูกทำให้เป็นเรื่อง “แปลก” ในสังคมไทยที่พร้อมจะตัดสินความแปลกเป็นความ“ผิด” หรือ “ผิดปกติ” เสียงสะท้อนจากสังคม คนรอบข้าง รวมถึงกะเทยคนอื่นๆ จึงจำกัดจินตนาการ และวิถีชีวิตที่หลากหลายของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ นอกจากนี้การตัดสินว่ากะเทยคนหนึ่งต้องทำหรือไม่ทำอ...