ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรอบ


ชั้นม้กจะบอกกับเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งของชั้นเสมอว่า " ให้มองคนให้เป็นมนุษย์คนหนึ่ง"

หลายคนจะคิดว่าสิ่งที่ชั้นพูด"แปลก" แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันเป็นเรื่องที่ทำไม่ง่าย หลายครั้งเรามักจะมองเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งว่าพวกเขา "แปลก" "บ้า" "แตกต่าง" จนถึงขั้นมองว่าพวกเขาและการกระทำของพวกเขา "ผิด" หรือ "ไม่สมควร" 

เพื่อนรุ่นน้องของชั้นคนนี้มักถามคำถามกับชั้นเรื่องคนรักเพศเดียวกัน คำถามที่เขาถามมักจะเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น

"พี่เอากันข้างหลังไม่เจ็บเหรอ"

"แล้วพี่เสร็จยังงัย"

"พี่รู้ตัวแต่เด็กเลยเหรอว่าพี่อยากเป็นแบบนี้"

"กะเทยเด็กเดี๋ยวนี้แรงตั้งแต่เด็ก พี่ว่ามั้ย ผมว่ามันเกินไป"

คำถามสารพัดที่ชั้นมักจะได้ยินจากน้องชายคนนี้ ชั้นเข้าใจว่าคำถามลักษณะนี้อีกมากมายยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากรู้แต่ไม่ถาม เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความสนิทกันในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถพูดคุยกันได้ เรื่องเพศเป็นเรื่องไม่ถูกพูดถึงในที่สาธารณะเพราะเห็นว่าไม่สมควรโดยเฉพาะสังคม (ไทย) ที่จริตเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินชีวิตเพื่อการรักษา "หน้า"

ชั้นมักจะตอบคำถามไปว่า "แกไม่ได้มองเขาแบบมนุษย์คนหนึ่ง" คำตอบนี้คงสร้างความฉงนสงสัยมากเพราะมันไม่ได้เป็นคำตอบของคำถามที่ถูกถาม แต่ชั้นกลับคิดว่าชั้นได้ตอบคำถามไปแล้ว ด้วยการท้าทายวิธีคิดเรื่อง "แปลก" และ"แตกต่าง" ของคนตั้งคำถาม

เรามักจะเรียนรู้เรื่อง "กรอบ" อยู่เสมอ เช่น ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี มารยาท คุณค่า ล้วนแต่เป็นกรอบปฎิบัติในสังคม ซึ่งส่วนใหญ่ถูกคิดและกำหนดจากคนชนชั้นหนึ่งเพื่อใช้กับคนทุกคนในสังคม คนที่แหกกรอบเหล่านี้มักจะถูกมองว่าเป็น "ขบถ" ของสังคม

หลายครั้งกรอบเหล่านี้เชื่อมโยงกับตัวตนทางเพศ ใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกมองว่า "แปลก" หรือ "แตกต่าง" เช่น ผู้ชายร้องไห้หรือแสดงความรู้สึกในที่สาธารณะเป็นเรื่องไม่สมควร มักถูกมองว่าคุณลักษณะดังกล่าวเป็นการลดทอนความเป็นชาย หรือกรณีผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อยก็จะถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี เพราะผู้หญิง "ดี" ต้องแต่งตัวมิดชิด

หลายครั้งเรามักจะมองความ "แปลก" แบบภาพตัวแทน เช่น กรณีของผู้ชายร้องไห้ ถูกมองว่า "ไม่ใช่ผู้ชาย" เป็น "เกย์" หรือ "กะเทย" หรือกรณีผู้หญิงนุ่งสั้นก็จะถูกมองว่า "เป็นผู้หญิงไม่เรียบร้อย" หรือ "ทำงานกลางคืน" เป็นต้น

เราต่างใช้ "กรอบ" มาตัดสินคนอื่นเสมอ จนหลงลืมไปว่า มนุษย์นั้นมีความหลากหลาย มีความต้องการแตกต่าง และมีความเป็นปัจเจกทางกายภาพ ความคิด และจิตวิญญาณ ฉะนั้น การที่คนคนหนึ่งจะใช้ชีวิตในแบบที่ไม่เหมือนใคร มีชีวิตทางเพศโลดโผนแค่ไหน มีความสัมพันธ์กับใคร มีเพศสัมพันธ์ท่าไหน จะ "ติด" กรอบ หรือ "หลุด" กรอบ มากน้อยแค่ไหน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นปัจเจกของมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งความสุขความทุกข์ของคนคนหนึ่งต่างเป็นความสุขความทุกข์ของคนคนนั้น

"กรอบ" ที่ถูกสร้างนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ "กรงขัง" ที่ทำหน้าที่กักขังความต้องการ ทำให้การแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ใหม่เป็นเรื่องยากรวมถึงการควบคุมความคิดและการกระทำของมนุษย์ ที่ร้ายยิ่งกว่านั้นกรอบเหล่านี้ทำให้มนุษย์มองเพื่อนมนุษย์ที่ไม่ปฏิบัติตามกรอบที่สังคมกำหนดว่า "แปลก" และ "แตกต่าง"

สำหรับชั้น ชั้นคิดว่าคนที่ติดอยู่ใน "กรงขัง" นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ "กบในกะลา" แม้ว่าการติดกรอบไม่ใช่เรื่อง "แปลก" หรือ "ผิด" แต่เราก็ไม่ควรมองคนที่อยู่นอกกรอบว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร หรือแปลก

เชื่อเถอะว่า ถ้าเรา "มองคนให้เป็นมนุษย์" เราจะรู้ว่าเขาเหล่านั้นก็ไม่ "ต่าง" จากเรา





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)

ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ: 1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย 2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทา...

หยุด "กลัว" กะเทย

“เกิดเป็นกะเทยเสียชาติเกิด” “กรรมเก่า … ทำความดีในชาตินี้จะได้เกิดเป็นชายจริงหญิงแท้ในชาติหน้า” “กะเทยควาย กะเทยหัวโปก กะเทยลูกเจี๊ยบ …” “กะเทยห้ามบวช ห้ามเป็นทหาร ห้ามเป็นหมอ ห้ามเป็นครูอาจารย์ ห้ามแต่งหญิงในที่ทำงาน!!!” “กะเทยต้องแต่งหน้า ทำผมเก่ง เต้นเก่ง และ “โม๊ก” เก่ง … ต้องตลก และมีอารมณ์ขัน” ฉันเชื่อว่ากะเทยหลายคนเติบโตมากับเสียงสะท้อนเหล่านี้จากสังคม คนรอบข้าง และจากเพื่อนกะเทยด้วยกัน หลายครั้งชีวิตของคนคนหนึ่งไม่ได้มีอิสระในการเลือกตามความเข้าใจของพวกเรา เมื่อ “ความเป็นเรา” ถูกทำให้เป็นอื่น หรือ “แปลก” และ “แตกต่าง” ความเป็นเราจึงถูกจำกัดทำให้บางครั้งคนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชีวิตแบบใด หรือมีความสนใจในเรื่องใด เพราะเขาหรือเธอไม่อยาก “แปลก” หรือให้ใครเห็นว่าพวกเขา“ต่าง” จากคนอื่นๆ เมื่อการเป็นกะเทยถูกทำให้เป็นเรื่อง “แปลก” ในสังคมไทยที่พร้อมจะตัดสินความแปลกเป็นความ“ผิด” หรือ “ผิดปกติ” เสียงสะท้อนจากสังคม คนรอบข้าง รวมถึงกะเทยคนอื่นๆ จึงจำกัดจินตนาการ และวิถีชีวิตที่หลากหลายของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ นอกจากนี้การตัดสินว่ากะเทยคนหนึ่งต้องทำหรือไม่ทำอ...

ถ้าวันหนึ่ง...

ถ้าวันหนึ่ง... ประชากรส่วนใหญ่บนโลกเป็นเกย์กะ เทยทอมดี้ ... คนรักต่างเพศจะเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ หญิง ผู้ชายสามารถท้องแทนภรรยาด้วยนว ัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ห้องน้ำไม่แยกหญิงชาย แต่เป็นห้องน้ำ Unisex ที่ใครเพศใดจะเข้าก็ได้  คนสามารถเลือกเพศได้ในเอกสารทาง ราชการ ... เลือกที่จะเป็นนางสาวหรือนางก็ไ ด้เมื่อแต่งงาน ใครจะแต่งงานกับใครก็ได้ เรื่องความรักเป็นเรื่องของคนสอ งคน ศาสนาจะไม่ใช่เหตุผลของการทำสงค ราม ระบบการศึกษาจะมีบทเรียนเรื่องเ พศสำหรับเยาวชน ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความเป็น เพศที่หลากหลาย ครูอาจารย์จะไม่ใช่ศูนย์กลางของ การเรียนการสอน แต่การศึกษาเป็นการสร้างการมีส่ วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนมีส่วนช่วยคิดแผนการ เรียน การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก ศาสนาจะไม่ใช่เครื่องมือตัดสินค วามผิดถูก แต่เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาความเ ป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์เพื่อนำไป สู่ความผาสุกของสังคม ประชาชนสามารถมีความคิดเห็นแตกต ่างทางการเมือง รัฐจะมีพื้นที่สำหรับคนที่เห็นต ่างได้แสดงออก (การเมืองแบบสองขั้วต่างเป็นการ เมืองที่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไ ตย) ระบบสาธา...