ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฝันอยากเห็นสังคมที่เปลี่ยนไป…

พอฉันได้อ่านข่าวที่เพื่อนส่งมาให้ทางอีเมล์ ฉันเกิดความคิดขี้นมาได้ว่า ต้องเขียนอะไรขึ้นมาซักอย่าง เพื่อกระตุ้นเตือนคนเขียนข่าวนี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในข่าว ทั้งคนที่ทำการสำรวจบทบาทของคุณพ่อที่เป็นต้นเหตุของเรื่อง ทำให้คนที่มีความหลากหลายทางเพศตกเป็นจำเลยของสังคมอีกครั้ง ฉันได้มีโอกาสอ่านบทความในนิตยสารใกล้หมอซึ่งถูกเขียนโดยนายแพทย์ท่านหนึ่ง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 จะเห็นได้ว่า ความเข้าใจของสังคมนั้น ยังไม่เคยเปลี่ยน ยังคงคิดว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ เกย์ กะเทย ทอม ดี้ ในความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ หรือ ที่ใครหลายคนพยายามใช้คำว่า “เพศที่สาม” ในความหมายใกล้เคียงในเชิงลบนั้น เป็นกลุ่มคนที่ผิดปกติ เป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการแก้ไข เป็นสาเหตุของครอบครัวที่มีปัญหา และผลักภาระความรับผิดชอบที่วิธีการเลี้ยงดูบุตรของคนที่เป็นพ่อแม่ 

ในข่าวที่เพื่อนส่งมาให้นั้นได้กล่าวในตอนต้นว่า ผลสำรวจจากสำนักวิจัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งพบว่าพ่อ 70% ทำงานเกิน 8 ชั่วโมง มีเวลาพูดคุยกับลูกเพียงวันละ 50 นาที แพทย์ชี้ พ่อคุยกับลูกน้อย หวั่นเกิดเพศที่ 3 สูงขึ้น เด็กมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ฟันแล้วทิ้ง มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ฉันได้แต่ตั้งคำถามว่า ตกลงว่าการเกิดเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ นั้นเป็นปัญหา ของครอบครัว และสังคม นอกจากนั้นพ่อที่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แล้วทำไมไม่มีใครคิดในมุมกลับกันบ้างว่า สังคมที่มีอคติต่อคนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นปัญหา เพราะสังคมที่เต็มไปด้วยความรังเกียจ และมีความคิดในเชิงลบกับคนที่แตกต่างจากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมนั้น มักเป็นต้นเหตุของการแบ่งแยก เกิดการเหมารวมว่ากลุ่มคนเหล่านั้นเป็นตัวปัญหา และเกิดปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไม่จบสิ้น 

ฉันไม่เห็นว่าการเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศในครอบครัวจะเป็นปัญหาแต่อย่างใด และไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับปัญหาเรื่องการใช้ความรุนแรง การตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย แล้วทำไมการสำรวจดังกล่าวจึงระบุว่าการเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นปัญหาไปได้ ทั้งยังให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวมากกว่าปัญหาอื่นๆ ยิ่งทำให้เห็นว่าสังคมไทยยังไม่พร้อมจะเปิดใจยอมรับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในสังคม แม้ว่าปัจจุบันจะมีภาพปรากฏของคนที่มีความหลากหลายทางเพศในสื่อต่างๆ มีการประกวดสาวประเภทสองที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และมีคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นที่ยอมรับในสังคมจำนวนไม่น้อย หากแต่คนเหล่านั้นจะถูกมองอย่างไร เนื่องจากคนในสังคมยังมีกรอบเรื่องเพศแบ่งคนเป็น 2 เพศคือ เพศชาย และเพศหญิง อีกทั้งยังรวมคนที่เป็นเพศอื่นๆไว้ด้วยกัน และเรียกพวกเขาว่า เพศที่สาม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับสองเพศแรก คงจะไม่ต้องตอบคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีสถานะบทบาททางสังคมที่ด้อยกว่าจะประสบปัญหาการแบ่งแยกกีดกันมากมายเพียงใด

ฉันกลับเห็นใจองค์กรที่ทำงานกับกลุ่มคนที่มีหลากหลายทางเพศ ที่พยายามสร้างความเข้าใจและยอมรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ จากครอบครัว ชุมชน และสังคม นอกจากนี้ยังพยายามสร้างความภูมิใจในตัวตนของคนที่เกิดมาเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่มักจะถูกกดทับจากอคติ และมายาคติในสังคม เผลอคิดแทนไปว่า เมื่อพวกเขาได้อ่านข่าวในลักษณะนี้แล้ว จะรู้สึกท้อใจเพียงใด และคงต้องทำงานกันเหนื่อยต่อไปอีกเท่าไร เพื่อจะทำให้คนในสังคมเข้าใจว่าความหลากหลายทางเพศเป็นธรรมชาติ และสร้างการรับรู้ว่าคนคนหนึ่งมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกเพศของตนได้อย่างอิสระ 

ฉันยังสงสารคนที่มีบทบาทของความเป็นพ่อที่ถูกพาดพิง เสมือนเป็นต้นเหตุที่ทำให้ลูกเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น เป็นฝ่ายที่ต้องรับภาระ และความผิดหวังที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนผิด หากลูกจะเลือกเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และไม่ได้เป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง จนทำให้บางครั้งการที่ลูกเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นสิ่งที่พ่อยอมรับในตัวลูกไม่ได้ และตามมาด้วยปัญหาในครอบครัวนานานัปการ เช่น การกระทำรุนแรงต่อคนที่เป็นลูกจากพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจ และไม่ยอมรับในลูกที่เป็นคนรักเพศเดียวกัน จนกระทั่งนำไปสู่ปัญหาครอบครัวแตกแยก และไม่มีความสุข อย่างไรก็แล้วแต่บทบาทของคนเป็นพ่อในการช่วยเลี้ยงลูกที่ระบุในข่าวดังกล่าวนั้น ฉันกลับเห็นว่าไม่สามารถใช้ความเป็นเพศมาระบุว่าผู้ชายที่เป็นพ่อควรจะปฏิบัติตาม หากแต่ผู้หญิงที่เป็นแม่ หรือใครเพศใดจะเป็นผู้ปกครองของเด็กคนหนึ่ง และคนในครอบครัวควรจะปฏิบัติตามเพื่อความผาสุกของคนในครอบครัว ไม่ว่าบุตรหลานในครอบครัวจะเป็นเพศใด ความรัก ความเข้าใจของคนที่เป็นพ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นพลังในการดำเนินชีวิตในสังคมให้กับบุตรหลาน 

การเป็นคนรักเพศเดียวกัน หรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ใช่ปัญหาของครอบครัว หากพ่อแม่รัก ยอมรับลูก และเคารพในการตัดสินใจในเพศที่ลูกเลือกแล้ว ก็จะเป็นกำลังใจสำคัญสำหรับบุคคลที่เป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อต่อสู้กับอคติของสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก สังคมที่ยังมองว่าความหลากหลายทางเพศเป็นปัญหา และคนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นคนผิดปกติ เมื่อใดครอบครัวยอมรับในตัวบุตรหลานที่เป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้ เมื่อนั้นครอบครัวก็จะเต็มไปด้วยความสุขทั้งตัวผู้ที่เป็นผู้ปกครอง และคนที่เป็นบุตรหลาน 

สุดท้ายนี้ ฉันอยากจะฝากบอกท่านผู้อ่าน และใครก็ตามที่เป็นห่วงว่าสังคมไทย จะเต็มไปด้วยคนที่มีความหลากหลายทางเพศแบบฉัน รับรู้ว่าพวกเขาควรจะสอนลูกของเขา ให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี และควรทำ โดยไม่ระบุว่าเพศใดควรจะทำอะไร เพราะนั้นจะช่วยลดอคติแห่งเพศ อันเป็นรากฐานของปัญหาความรุนแรง ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และปัญหาสังคมต่างๆ และฉันก็เป็นคนหนึ่งที่อยากเห็นสังคมไทยมีความเสมอภาค และเท่าเทียม โดยไม่ใช้เหตุของความเป็นเพศมาแบ่งแยกว่าใครควรจะทำอะไร ภายใต้สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศของเราที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้น เชื่อเถอะว่าครอบครัวที่เป็นหน่วยย่อยของสังคม และเป็นครอบครัวที่เปี่ยมไปด้วยความรักความเข้าใจย่อมนำมาซึ่งชุมชนที่เข้มแข็ง และสังคมที่สงบสุข 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)

ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ: 1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย 2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทา...

หยุด "กลัว" กะเทย

“เกิดเป็นกะเทยเสียชาติเกิด” “กรรมเก่า … ทำความดีในชาตินี้จะได้เกิดเป็นชายจริงหญิงแท้ในชาติหน้า” “กะเทยควาย กะเทยหัวโปก กะเทยลูกเจี๊ยบ …” “กะเทยห้ามบวช ห้ามเป็นทหาร ห้ามเป็นหมอ ห้ามเป็นครูอาจารย์ ห้ามแต่งหญิงในที่ทำงาน!!!” “กะเทยต้องแต่งหน้า ทำผมเก่ง เต้นเก่ง และ “โม๊ก” เก่ง … ต้องตลก และมีอารมณ์ขัน” ฉันเชื่อว่ากะเทยหลายคนเติบโตมากับเสียงสะท้อนเหล่านี้จากสังคม คนรอบข้าง และจากเพื่อนกะเทยด้วยกัน หลายครั้งชีวิตของคนคนหนึ่งไม่ได้มีอิสระในการเลือกตามความเข้าใจของพวกเรา เมื่อ “ความเป็นเรา” ถูกทำให้เป็นอื่น หรือ “แปลก” และ “แตกต่าง” ความเป็นเราจึงถูกจำกัดทำให้บางครั้งคนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชีวิตแบบใด หรือมีความสนใจในเรื่องใด เพราะเขาหรือเธอไม่อยาก “แปลก” หรือให้ใครเห็นว่าพวกเขา“ต่าง” จากคนอื่นๆ เมื่อการเป็นกะเทยถูกทำให้เป็นเรื่อง “แปลก” ในสังคมไทยที่พร้อมจะตัดสินความแปลกเป็นความ“ผิด” หรือ “ผิดปกติ” เสียงสะท้อนจากสังคม คนรอบข้าง รวมถึงกะเทยคนอื่นๆ จึงจำกัดจินตนาการ และวิถีชีวิตที่หลากหลายของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ นอกจากนี้การตัดสินว่ากะเทยคนหนึ่งต้องทำหรือไม่ทำอ...

ถ้าวันหนึ่ง...

ถ้าวันหนึ่ง... ประชากรส่วนใหญ่บนโลกเป็นเกย์กะ เทยทอมดี้ ... คนรักต่างเพศจะเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ หญิง ผู้ชายสามารถท้องแทนภรรยาด้วยนว ัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ห้องน้ำไม่แยกหญิงชาย แต่เป็นห้องน้ำ Unisex ที่ใครเพศใดจะเข้าก็ได้  คนสามารถเลือกเพศได้ในเอกสารทาง ราชการ ... เลือกที่จะเป็นนางสาวหรือนางก็ไ ด้เมื่อแต่งงาน ใครจะแต่งงานกับใครก็ได้ เรื่องความรักเป็นเรื่องของคนสอ งคน ศาสนาจะไม่ใช่เหตุผลของการทำสงค ราม ระบบการศึกษาจะมีบทเรียนเรื่องเ พศสำหรับเยาวชน ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความเป็น เพศที่หลากหลาย ครูอาจารย์จะไม่ใช่ศูนย์กลางของ การเรียนการสอน แต่การศึกษาเป็นการสร้างการมีส่ วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนมีส่วนช่วยคิดแผนการ เรียน การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก ศาสนาจะไม่ใช่เครื่องมือตัดสินค วามผิดถูก แต่เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาความเ ป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์เพื่อนำไป สู่ความผาสุกของสังคม ประชาชนสามารถมีความคิดเห็นแตกต ่างทางการเมือง รัฐจะมีพื้นที่สำหรับคนที่เห็นต ่างได้แสดงออก (การเมืองแบบสองขั้วต่างเป็นการ เมืองที่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไ ตย) ระบบสาธา...