ด้วยความที่ฉันเป็นคนรักการอ่าน ฉันได้เผอิญเข้าไปอ่านบทความของคุณหมอท่านหนึ่ง ในเว็บไซต์ที่ว่าด้วยเรื่องการแพทย์ และหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพ โดยบทความของคุณหมอท่านนี้มีที่มาจากหนังสือนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 23 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2542
ฉันได้อ่านบทความนี้ แล้วเกิดการตั้งคำถามตามประสาคนชอบสงสัยว่า ทำไมคุณหมอท่านนี้จึงมีมุมมองในเรื่องเพศที่แข็งทื่อ และมองเรื่องเพศแบบสองขั้วคู่ตรงข้ามเท่านั้น ซึ่งฉันคิดว่ามุมมองหรือทัศนคติในเรื่องเพศแบบนี้ นั้นเกิดกับคนส่วนใหญ่ในสังคม จึงไม่ได้อยากจะกล่าวโทษ หรือตัดสินใครว่าผิด แต่ทั้งนี้ฉันก็อยากจะฝากบทความ ที่ถือว่าเป็นจดหมายตอบบทความของคุณหมอไว้ด้วย เผื่อที่ว่าคนที่มีความคิดเดียวกับฉันได้เข้ามาอ่านบทความของคุณหมอ จะเห็นด้วยกับสิ่งที่ฉันจะเขียนต่อไป
คุณหมอกล่าวว่า “มนุษย์ผู้ชายจะแต่งตัวสวยงามหรือรักสวยงามกันน้อยกว่ามนุษย์ผู้หญิง และยังสรุปอีกว่า ผู้ชายจะไม่แต่งหน้าเขียนคิ้วทาปาก” มันยิ่งตอกย้ำได้ว่าคุณหมอให้ความหมายของงการเป็นชายหญิงเพียงแค่วัดจากเพศสรีระเท่านั้น หมายถึง มนุษย์ผู้ชายต้องมีจู๋ และมนุษย์ผู้หญิงต้องมีจิ๋ม นั้นเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ ฉันอยากรู้ว่าคุณหมอจะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณยี่ห้อเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในตลาดว่าอย่างไร คุณหมอยังจะเรียกผู้บริโภคกลุ่มนั้นว่าเป็นผู้ชายตามคำนิยามของคุณหมออยู่หรือไม่ นั้นคงจะต้องถามกลับไปที่คุณหมอค่ะ สำหรับฉันเชื่อว่าการแบ่งเพศไม่ได้มีเครื่องมือใดสามารถวัดได้ หรือมีมาตราใดจะสามารถนำมาใช้ได้ เพราะยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ไม่รักสวยรักงาม อีกทั้งยังมีผู้ชายที่อ่อนไหวและอ่อนโยนให้เห็นอีกจำนวนไม่น้อย แล้วใครกันนะที่บอกว่าเพศชายต้องเป็นแบบนี้ และเพศหญิงต้องเป็นแบบนั้น มันน่าคิด…จริงหรือไม่คะ
ฉันเชื่อว่าท่านผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตอนนี้คงจะคิดว่าฉันเป็นคนบ้าที่กำลังท้าทายความคิดกับคนที่เป็นหมอ มากไปกว่านั้นยังพยายามจะฝืนกฎธรรมชาติที่ว่าโลกของเรานั้นมีแค่ชายและหญิง สำหรับคนที่เกิดมาเป็นเพศอื่น เช่น กะเทย ทอม ดี้ ไบ เกย์ ฯลฯ เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และสมควรถูกจัดกลุ่มเป็นบุคคลที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ แต่ฉันขอยืนยันค่ะว่าฉันไม่ได้บ้า และสาวประเภทสองอย่างฉันก็ไม่ได้เป็นคนที่ผิดปกติ หรือเบี่ยงเบนทางเพศแต่อย่างใด ถ้าทุกคนมีเพื่อนเป็นนักมานุษยวิทยา หรือคนที่ศึกษาถึงแนวคิดเรื่องความเป็นเพศ พวกเขาจะบอกคุณว่าความเป็นเพศนั้น เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างโดยสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะมีรายละเอียดยืนยาวจนคนทั่วไปแบบพวกเราคงไม่สามารถเข้าใจในรายละเอียดได้หมด
ข้างต้นเราได้กล่าวถึงการฝืนกฎธรรมชาติ ซึ่งฉันขอยืนยันอีกครั้งค่ะว่าการมีเพศวิธีนอกกรอบไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แล้วใครจะรู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมรักเพศเดียวกันไม่ได้มีเฉพาะในมนุษย์ ฉันได้อ่านบทความบทความหนึ่งที่อ้างถึงงานวิจัยของโจน รัฟการ์เดน อาจารย์สาวทรานสเจนเดอร์ (สาวประเภทสอง)ที่สอนชีววิทยา อยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวคัดค้านถึงทฤษฎีเรื่องการคัดเลือกทางเพศ (Sexual selection) ของชาลส์ดาร์วินที่ว่าเขียนไว้ว่า สัตว์ตัวเมียจะเลือกคู่ตัวผู้ที่น่าดึงดูด แข็งแกร่ง และมีอาวุธ ป้องกันตัว พร้อมสรรพ เพื่อให้เกิดการคัดเลือกยีนส์ที่ดีที่สุดต่อการสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป โดยดาร์วินมักยกตัวอย่างขนแพนหางของนกยูงตัวผู้ที่สวยงามดึงดูดใจตัวเมีย หรือไม่ก็เขากวางตัวผู้ที่เปรียบดั่งอาวุธนักรบ แล้วยังกล่าวอีกว่า ตัวผู้ของสัตว์เกือบทุกชนิดมีอารมณ์รุนแรงกว่าตัวเมีย ขณะที่ตัวเมียส่วนใหญ่แล้วจะขี้อาย
แต่งานวิจัยของเธอพบว่าในสัตว์เองมีความหลากหลายทางเพศมากกว่านั้นอีกมากมาย ในสัตว์หลายสปีชีส์ รวมถึงเรามนุษย์ที่เป็นเพศเมียไม่ได้อยากจะหาคู่ที่ล่ำบึกอเสมอไป เท่านั้นยังไม่พอ บรรดาสัตว์ต่าง ๆ ก็ใช่ว่าจะสามารถแบ่งแยกเป็นสองเพศได้อย่างเด่นชัด เช่น หนึ่งในสามของบรรดาปลา ในแหล่งปะการังจะสามารถผลิตทั้งไข่และสเปิร์มได้ ไม่ว่าจะในขณะเดียวกันหรือผลิตคนละเวลา ในบรรดาสิ่งมีชีวิต หลายเซลล์ รวมทั้งพืชด้วย เป็นเรื่องธรรมดามากที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะสร้างทั้งเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้และเพศเมียในช่วง ใดช่วงหนึ่ง ของชีวิต เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดว่าสิ่งมีชีวิตนี้เป็นตัวผู้หรือตัวเมีย
เรื่องความหลากหลายนี้ยังมีอีก คุณโจนเธอพบว่าสัตว์สามารถมีลักษณะทางเพศแตกต่างกันไปได้มากมาย เช่น ตัวผู้ในสปีชีส์หนึ่ง แม้จะผลิตสเปิร์มได้เหมือนกัน แต่ลักษณะอื่น ๆ เช่น ขนาดร่างกาย สี รูปร่าง พฤติกรรม วิถีชีวิต อาจต่างกันอย่างมากจนนักชีววิทยามือใหม่ไม่รู้ว่าเป็นสปีชีส์เดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าบรรดาสัตว์สังคม เช่นนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การเกี้ยว พาราสีและการจับคู่ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการฉีดสเปิร์ม เสมอไป จริง ๆ แล้วไม่บ่อยเลยที่มีการฉีดสเปิร์ม การจับคู่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่จะส่งผลให้การเลี้ยงดูตัวอ่อนเป็นไปด้วยดี เป็นต้น
เธอได้นำเสนอทฤษฎีใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า การคัดเลือกทางสังคม (social selection) โดยทฤษฎีนี้สามารถอธิบายความหลากหลายทางเพศที่มีอยู่ได้ เธอเห็นว่าชีวิตทางสังคมของสัตว์นั้นเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงโอกาสทางการสืบพันธุ์ ซึ่งรวมไปถึงอาหาร รัง และคู่ ดังนั้นแล้ว สัตว์จะใช้สิ่งที่ตัวเองมีไปแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือจากสัตว์ตัวอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ และในท้ายที่สุดเธอก็สรุปว่า การมีอะไรกับเพศเดียวกันนี่เป็นการปรับตัวอย่างหนึ่งของสัตว์ และอาจรวมถึงมนุษย์ด้วย เพราะ มันก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “รักเพศเดียวกันเป็นเรื่องธรรมชาติ”
ฉันได้ยกตัวอย่างงานของโจนจากบทความเพียงบางส่วนที่ฉันได้อ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทราบว่าใครคือผู้แปลบทความนี้ขึ้นมา แต่ฉันอยากจะขอบคุณคุณคนนั้นด้วยใจจริงที่อุตสาห์แปล และเรียบเรียงเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย สำหรับคนอื่นๆได้อ่าน ซึ่งทุกท่านที่สนใจงานของโจนสามารถหาอ่านได้จากบทความฉบับเต็มจากเรื่อง "The In-crowd" โดย Joan Roughgarden ใน New Scientist Vol. 181 No. 2430 17 Jan 2004 และหนังสือของเธอชื่อ Evolution's Rainbow: Diversity, Gender and Sexuality in Nature and People ตีพิมพ์โดย University of California Press …เห็นหรือไม่คะสาวประเภทสองมากความสามารถแค่ไหน ฉันเชื่อว่ากว่าที่โจนจะมายืนอยู่ตรงจุดนี้ได้ เธอคงผ่านอุปสรรคอะไรมามากทีเดียว ฉันได้มีโอกาสเจอเธอครั้งหนึ่งในงานประชุมที่ประเทศอินเดียเมื่อปี 2549 และได้ฟังเธอนำเสนอผลงานวิชาการชิ้นนี้ อีกทั้งยังมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้าง ฉันไม่แปลกใจเลยว่าเธอเป็นสาวประเภทสองที่มีความสามารถอย่างแท้จริง และเห็นว่าเธอมีแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่น่าเอามาเป็นแบบอย่าง ฉันได้แต่หวังว่าประเทศไทยจะมีสาวประเภทสองแบบเธอให้มากกว่านี้ ซึ่งคำตอบนี้คงมีตัวแปรสำคัญคือ การยอมรับของสังคมต่อคนที่เป็นสาวประเภทสอง และไม่ได้มองว่าการเกิดมาเป็นสาวประเภทสองเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ
ฉันพูดมายืนยาว จนลืมไปว่าเรากำลังพูดถึงบทความของคุณหมอท่านหนึ่งซึ่งเป็นต้นเหตุว่าทำไมฉันถึงเขียนอธิบายอะไรต่อมิอะไรตั้งมากมาย โดยในตอนท้ายของบทความของคุณหมอ ได้กล่าวเสนอแนวทางการป้องกัน (ไม่ให้ลูกเป็นกะเทย) ว่าพ่อแม่จะต้องเอาใจใส่เด็ก และสร้างภูมิปัญญาและจิตสำนึกให้กับเด็ก คุณหมอได้กล่าวในข้อเสนอว่าของแท้คือของแท้ ของเทียมคือของเทียม จะปรับเปลี่ยนอย่างไรก็คงเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ การตัดสินใจที่เข้มแข็ง เลือกทางเดินหาตนเองให้พบว่าชายแท้ของจริงเขามีความภาคภูมิใจด้วยอะไร? ทั้งนี้คุณหมอลงท้ายบทความว่า อยากเห็นสังคมมีผู้ชายแท้มากกว่า และทิ้งคำถามว่า "ถูกหรือผิดเลือกเอาเถอะนะ....ตัวเอง”
งานของคุณหมอท่านนี้ยังคงเป็นงานที่ผลิตแนวคิดแบบซ้ำๆ มีให้เห็นทั่วไปในสังคมที่ยังไม่ยอมรับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน และเป็นการตอกย้ำว่าการรักเพศเดียวกันเป็นคนเรื่องที่ผิดปกติ เบี่ยงเบนทางเพศ และผิดธรรมชาติ นั้นเป็นเพราะว่าวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น สอนให้คนให้คุณค่ากับคนอยู่บนฐานคิดในเรื่องเพศที่อ้างอิงกับเพศสรีระแค่เพียง 2 แบบเท่านั้น คือผู้ที่มีอวัยวะเพศชาย และผู้ที่มีอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น จนไม่ได้ให้พื้นที่แก่คนที่ไม่ได้นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชาย อีกทั้งยังแฝงด้วยอคติทางเพศอีกมากมายกับกลุ่มคนเหล่านั้น นอกจากนี้ฉันคิดว่างานวิจัยของโจน หรือแม้กระทั่งบทความชิ้นนี้ของฉันคงจะไม่มีคณูปการอะไร หากคนในสังคมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับว่าความหลากหลายทางเพศเป็นทางเลือก และพยายามค้นหาความหมายของคำว่าชายจริง หรือหญิงแท้ โดยท้ายที่สุดก็ไม่สามารถพบว่าส่งที่พยายามหาคืออะไรกันแน่
สิ่งสำคัญที่อยากจะฝากคุณหมอ และผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์ทุกท่านให้ตระหนักคือ หากท่านยังมองว่าการเป็นคนรักเพศเดียวกัน หรือสาวประเภทสองเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ และไม่ได้ทำความเข้าใจถึงตัวตนทางเพศของพวกเขาเหล่านั้น โดยไม่มองคนให้กว้างขึ้นในแง่มุมเชิงสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต หรือในมิติความเป็นมนุษย์ที่มีความต้องการที่ซับซ้อน และแตกต่างหลากหลาย พวกท่านก็จะไม่สามารถมองข้ามอคติทางเพศกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ และทำให้ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติทั้งจากระบบการให้บริการ และบุคลากรผู้ให้บริการ ซึ่งนั้นอาจจะเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้องค์กรที่ทำงานกับกลุ่มคนเหล่านั้นรณรงค์เรียกร้องสถานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือสถานบริการเฉพาะกลุ่มที่มีความเข้าใจในตัวตนทางเพศ และเพศวิถีของกลุ่มตน
แล้วเราจะมานั่งเถียงกันทำไมคะว่าชายจริง หญิงแท้คืออะไร ???
ฉันได้อ่านบทความนี้ แล้วเกิดการตั้งคำถามตามประสาคนชอบสงสัยว่า ทำไมคุณหมอท่านนี้จึงมีมุมมองในเรื่องเพศที่แข็งทื่อ และมองเรื่องเพศแบบสองขั้วคู่ตรงข้ามเท่านั้น ซึ่งฉันคิดว่ามุมมองหรือทัศนคติในเรื่องเพศแบบนี้ นั้นเกิดกับคนส่วนใหญ่ในสังคม จึงไม่ได้อยากจะกล่าวโทษ หรือตัดสินใครว่าผิด แต่ทั้งนี้ฉันก็อยากจะฝากบทความ ที่ถือว่าเป็นจดหมายตอบบทความของคุณหมอไว้ด้วย เผื่อที่ว่าคนที่มีความคิดเดียวกับฉันได้เข้ามาอ่านบทความของคุณหมอ จะเห็นด้วยกับสิ่งที่ฉันจะเขียนต่อไป
คุณหมอกล่าวว่า “มนุษย์ผู้ชายจะแต่งตัวสวยงามหรือรักสวยงามกันน้อยกว่ามนุษย์ผู้หญิง และยังสรุปอีกว่า ผู้ชายจะไม่แต่งหน้าเขียนคิ้วทาปาก” มันยิ่งตอกย้ำได้ว่าคุณหมอให้ความหมายของงการเป็นชายหญิงเพียงแค่วัดจากเพศสรีระเท่านั้น หมายถึง มนุษย์ผู้ชายต้องมีจู๋ และมนุษย์ผู้หญิงต้องมีจิ๋ม นั้นเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ ฉันอยากรู้ว่าคุณหมอจะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณยี่ห้อเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในตลาดว่าอย่างไร คุณหมอยังจะเรียกผู้บริโภคกลุ่มนั้นว่าเป็นผู้ชายตามคำนิยามของคุณหมออยู่หรือไม่ นั้นคงจะต้องถามกลับไปที่คุณหมอค่ะ สำหรับฉันเชื่อว่าการแบ่งเพศไม่ได้มีเครื่องมือใดสามารถวัดได้ หรือมีมาตราใดจะสามารถนำมาใช้ได้ เพราะยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ไม่รักสวยรักงาม อีกทั้งยังมีผู้ชายที่อ่อนไหวและอ่อนโยนให้เห็นอีกจำนวนไม่น้อย แล้วใครกันนะที่บอกว่าเพศชายต้องเป็นแบบนี้ และเพศหญิงต้องเป็นแบบนั้น มันน่าคิด…จริงหรือไม่คะ
ฉันเชื่อว่าท่านผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตอนนี้คงจะคิดว่าฉันเป็นคนบ้าที่กำลังท้าทายความคิดกับคนที่เป็นหมอ มากไปกว่านั้นยังพยายามจะฝืนกฎธรรมชาติที่ว่าโลกของเรานั้นมีแค่ชายและหญิง สำหรับคนที่เกิดมาเป็นเพศอื่น เช่น กะเทย ทอม ดี้ ไบ เกย์ ฯลฯ เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และสมควรถูกจัดกลุ่มเป็นบุคคลที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ แต่ฉันขอยืนยันค่ะว่าฉันไม่ได้บ้า และสาวประเภทสองอย่างฉันก็ไม่ได้เป็นคนที่ผิดปกติ หรือเบี่ยงเบนทางเพศแต่อย่างใด ถ้าทุกคนมีเพื่อนเป็นนักมานุษยวิทยา หรือคนที่ศึกษาถึงแนวคิดเรื่องความเป็นเพศ พวกเขาจะบอกคุณว่าความเป็นเพศนั้น เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างโดยสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะมีรายละเอียดยืนยาวจนคนทั่วไปแบบพวกเราคงไม่สามารถเข้าใจในรายละเอียดได้หมด
ข้างต้นเราได้กล่าวถึงการฝืนกฎธรรมชาติ ซึ่งฉันขอยืนยันอีกครั้งค่ะว่าการมีเพศวิธีนอกกรอบไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แล้วใครจะรู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมรักเพศเดียวกันไม่ได้มีเฉพาะในมนุษย์ ฉันได้อ่านบทความบทความหนึ่งที่อ้างถึงงานวิจัยของโจน รัฟการ์เดน อาจารย์สาวทรานสเจนเดอร์ (สาวประเภทสอง)ที่สอนชีววิทยา อยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวคัดค้านถึงทฤษฎีเรื่องการคัดเลือกทางเพศ (Sexual selection) ของชาลส์ดาร์วินที่ว่าเขียนไว้ว่า สัตว์ตัวเมียจะเลือกคู่ตัวผู้ที่น่าดึงดูด แข็งแกร่ง และมีอาวุธ ป้องกันตัว พร้อมสรรพ เพื่อให้เกิดการคัดเลือกยีนส์ที่ดีที่สุดต่อการสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป โดยดาร์วินมักยกตัวอย่างขนแพนหางของนกยูงตัวผู้ที่สวยงามดึงดูดใจตัวเมีย หรือไม่ก็เขากวางตัวผู้ที่เปรียบดั่งอาวุธนักรบ แล้วยังกล่าวอีกว่า ตัวผู้ของสัตว์เกือบทุกชนิดมีอารมณ์รุนแรงกว่าตัวเมีย ขณะที่ตัวเมียส่วนใหญ่แล้วจะขี้อาย
แต่งานวิจัยของเธอพบว่าในสัตว์เองมีความหลากหลายทางเพศมากกว่านั้นอีกมากมาย ในสัตว์หลายสปีชีส์ รวมถึงเรามนุษย์ที่เป็นเพศเมียไม่ได้อยากจะหาคู่ที่ล่ำบึกอเสมอไป เท่านั้นยังไม่พอ บรรดาสัตว์ต่าง ๆ ก็ใช่ว่าจะสามารถแบ่งแยกเป็นสองเพศได้อย่างเด่นชัด เช่น หนึ่งในสามของบรรดาปลา ในแหล่งปะการังจะสามารถผลิตทั้งไข่และสเปิร์มได้ ไม่ว่าจะในขณะเดียวกันหรือผลิตคนละเวลา ในบรรดาสิ่งมีชีวิต หลายเซลล์ รวมทั้งพืชด้วย เป็นเรื่องธรรมดามากที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะสร้างทั้งเซลล์สืบพันธุ์เพศ ผู้และเพศเมียในช่วง ใดช่วงหนึ่ง ของชีวิต เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดว่าสิ่งมีชีวิตนี้เป็นตัวผู้หรือตัวเมีย
เรื่องความหลากหลายนี้ยังมีอีก คุณโจนเธอพบว่าสัตว์สามารถมีลักษณะทางเพศแตกต่างกันไปได้มากมาย เช่น ตัวผู้ในสปีชีส์หนึ่ง แม้จะผลิตสเปิร์มได้เหมือนกัน แต่ลักษณะอื่น ๆ เช่น ขนาดร่างกาย สี รูปร่าง พฤติกรรม วิถีชีวิต อาจต่างกันอย่างมากจนนักชีววิทยามือใหม่ไม่รู้ว่าเป็นสปีชีส์เดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าบรรดาสัตว์สังคม เช่นนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การเกี้ยว พาราสีและการจับคู่ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการฉีดสเปิร์ม เสมอไป จริง ๆ แล้วไม่บ่อยเลยที่มีการฉีดสเปิร์ม การจับคู่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่จะส่งผลให้การเลี้ยงดูตัวอ่อนเป็นไปด้วยดี เป็นต้น
เธอได้นำเสนอทฤษฎีใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า การคัดเลือกทางสังคม (social selection) โดยทฤษฎีนี้สามารถอธิบายความหลากหลายทางเพศที่มีอยู่ได้ เธอเห็นว่าชีวิตทางสังคมของสัตว์นั้นเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงโอกาสทางการสืบพันธุ์ ซึ่งรวมไปถึงอาหาร รัง และคู่ ดังนั้นแล้ว สัตว์จะใช้สิ่งที่ตัวเองมีไปแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือจากสัตว์ตัวอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ และในท้ายที่สุดเธอก็สรุปว่า การมีอะไรกับเพศเดียวกันนี่เป็นการปรับตัวอย่างหนึ่งของสัตว์ และอาจรวมถึงมนุษย์ด้วย เพราะ มันก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “รักเพศเดียวกันเป็นเรื่องธรรมชาติ”
ฉันได้ยกตัวอย่างงานของโจนจากบทความเพียงบางส่วนที่ฉันได้อ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทราบว่าใครคือผู้แปลบทความนี้ขึ้นมา แต่ฉันอยากจะขอบคุณคุณคนนั้นด้วยใจจริงที่อุตสาห์แปล และเรียบเรียงเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย สำหรับคนอื่นๆได้อ่าน ซึ่งทุกท่านที่สนใจงานของโจนสามารถหาอ่านได้จากบทความฉบับเต็มจากเรื่อง "The In-crowd" โดย Joan Roughgarden ใน New Scientist Vol. 181 No. 2430 17 Jan 2004 และหนังสือของเธอชื่อ Evolution's Rainbow: Diversity, Gender and Sexuality in Nature and People ตีพิมพ์โดย University of California Press …เห็นหรือไม่คะสาวประเภทสองมากความสามารถแค่ไหน ฉันเชื่อว่ากว่าที่โจนจะมายืนอยู่ตรงจุดนี้ได้ เธอคงผ่านอุปสรรคอะไรมามากทีเดียว ฉันได้มีโอกาสเจอเธอครั้งหนึ่งในงานประชุมที่ประเทศอินเดียเมื่อปี 2549 และได้ฟังเธอนำเสนอผลงานวิชาการชิ้นนี้ อีกทั้งยังมีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้าง ฉันไม่แปลกใจเลยว่าเธอเป็นสาวประเภทสองที่มีความสามารถอย่างแท้จริง และเห็นว่าเธอมีแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่น่าเอามาเป็นแบบอย่าง ฉันได้แต่หวังว่าประเทศไทยจะมีสาวประเภทสองแบบเธอให้มากกว่านี้ ซึ่งคำตอบนี้คงมีตัวแปรสำคัญคือ การยอมรับของสังคมต่อคนที่เป็นสาวประเภทสอง และไม่ได้มองว่าการเกิดมาเป็นสาวประเภทสองเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ
ฉันพูดมายืนยาว จนลืมไปว่าเรากำลังพูดถึงบทความของคุณหมอท่านหนึ่งซึ่งเป็นต้นเหตุว่าทำไมฉันถึงเขียนอธิบายอะไรต่อมิอะไรตั้งมากมาย โดยในตอนท้ายของบทความของคุณหมอ ได้กล่าวเสนอแนวทางการป้องกัน (ไม่ให้ลูกเป็นกะเทย) ว่าพ่อแม่จะต้องเอาใจใส่เด็ก และสร้างภูมิปัญญาและจิตสำนึกให้กับเด็ก คุณหมอได้กล่าวในข้อเสนอว่าของแท้คือของแท้ ของเทียมคือของเทียม จะปรับเปลี่ยนอย่างไรก็คงเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ การตัดสินใจที่เข้มแข็ง เลือกทางเดินหาตนเองให้พบว่าชายแท้ของจริงเขามีความภาคภูมิใจด้วยอะไร? ทั้งนี้คุณหมอลงท้ายบทความว่า อยากเห็นสังคมมีผู้ชายแท้มากกว่า และทิ้งคำถามว่า "ถูกหรือผิดเลือกเอาเถอะนะ....ตัวเอง”
งานของคุณหมอท่านนี้ยังคงเป็นงานที่ผลิตแนวคิดแบบซ้ำๆ มีให้เห็นทั่วไปในสังคมที่ยังไม่ยอมรับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน และเป็นการตอกย้ำว่าการรักเพศเดียวกันเป็นคนเรื่องที่ผิดปกติ เบี่ยงเบนทางเพศ และผิดธรรมชาติ นั้นเป็นเพราะว่าวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น สอนให้คนให้คุณค่ากับคนอยู่บนฐานคิดในเรื่องเพศที่อ้างอิงกับเพศสรีระแค่เพียง 2 แบบเท่านั้น คือผู้ที่มีอวัยวะเพศชาย และผู้ที่มีอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น จนไม่ได้ให้พื้นที่แก่คนที่ไม่ได้นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชาย อีกทั้งยังแฝงด้วยอคติทางเพศอีกมากมายกับกลุ่มคนเหล่านั้น นอกจากนี้ฉันคิดว่างานวิจัยของโจน หรือแม้กระทั่งบทความชิ้นนี้ของฉันคงจะไม่มีคณูปการอะไร หากคนในสังคมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับว่าความหลากหลายทางเพศเป็นทางเลือก และพยายามค้นหาความหมายของคำว่าชายจริง หรือหญิงแท้ โดยท้ายที่สุดก็ไม่สามารถพบว่าส่งที่พยายามหาคืออะไรกันแน่
สิ่งสำคัญที่อยากจะฝากคุณหมอ และผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์ทุกท่านให้ตระหนักคือ หากท่านยังมองว่าการเป็นคนรักเพศเดียวกัน หรือสาวประเภทสองเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ และไม่ได้ทำความเข้าใจถึงตัวตนทางเพศของพวกเขาเหล่านั้น โดยไม่มองคนให้กว้างขึ้นในแง่มุมเชิงสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต หรือในมิติความเป็นมนุษย์ที่มีความต้องการที่ซับซ้อน และแตกต่างหลากหลาย พวกท่านก็จะไม่สามารถมองข้ามอคติทางเพศกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ และทำให้ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มคนเหล่านี้ประสบปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติทั้งจากระบบการให้บริการ และบุคลากรผู้ให้บริการ ซึ่งนั้นอาจจะเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้องค์กรที่ทำงานกับกลุ่มคนเหล่านั้นรณรงค์เรียกร้องสถานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือสถานบริการเฉพาะกลุ่มที่มีความเข้าใจในตัวตนทางเพศ และเพศวิถีของกลุ่มตน
แล้วเราจะมานั่งเถียงกันทำไมคะว่าชายจริง หญิงแท้คืออะไร ???
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น