ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แม่เขียนเล่า...(เมื่อหลายปีก่อน)

บทความนี้คัดลอกมาจากบทความที่แม่ของฉันเป็นผู้เขียนให้กับฉันถึง เรื่องของการยอมรับของท่านต่อตัวตนทางเพศที่เป็นกะเทยของฉัน โดยบางช่วงของบทความนี้ถูกนำไปประกอบบทความเรื่องแม่รับได้: การยอมรับของครอบครัวที่มีลูกเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกเขียนไว้ดังนี้

"ข้าพเจ้าแต่งงานมาเมื่ออายุได้ 22 ปี ส่วนสามีอายุได้ 32 ปี แต่งงานเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2509 พอดีปี 2510 ข้าพเจ้ามีลูกคนที่ 1 เป็นผู้หญิง พอปี 2511 ข้าพเจ้าก็มีลูกอีก 1 คนเป็นผู้ชาย แต่ไม่ได้เลี้ยงเพราะเขาได้เสียชีวิตไปตั้งแต่เกิดมาดูโลกได้ 8 ชั่วโมง เพราะเขาคลอดก่อนกำหนด ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าก็ไม่มีลูกอีกเลย จนไปหาหมอมาหลายๆที่จนข้าพเจ้าอายุได้ 33 ปี คุณหมอก็ให้คำปลอบใจว่าอายุก็แก่แล้วไม่ต้องเอาแล้ว หมอยังไม่มีลูกเลย แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ละความพยายามเพราะอยากได้ลูกชายไว้สืบสกุลเพราะพ่อของเขาเป็นคนจีน เขาอยากได้ลูกผู้ชาย ข้าพเจ้าก็หวังอยู่ว่าบุญมีเราต้องได้ลูก ผลสุดท้ายเราก็ได้ลูกผู้ชายตามความปรารถนา วันที่ข้าพเจ้าคลอดลูกออกมาเป็นผู้ชาย คุณพ่อเขาดีใจมากที่ได้ลูกชาย จนพาเพื่อนๆ ไปเลี้ยงฉลองกันคืนนั้นเลย แต่มาเดี๋ยวนี้ลูกที่เราหวังว่าจะเป็นผู้ชาย 100 % นั้น มันไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะลูกก็มาเป็นสาวประเภทสอง ตอนแรกแม่กับพ่อก็รับไม่ได้ แต่เราเป็นแม่ก็พยายามคุยโน้มน้าวจิตใจให้ลูกว่า ให้ลูกจงเป็นลูกผู้ชายให้เข้มแข็ง เพราะเราเป็นตระกูลคนจีน จะได้มีตระกูลที่ยืนยาวต่อไป แต่ลูกเขาไม่รับปาก และไม่พูดอะไรให้เรารู้ว่าเขาเป็นสาวประเภทสอง เขาจะพยายามปกปิดเราตลอดเวลา แต่เราเป็นแม่ก็จะพยายามสังเกตดูพฤติกรรมของเขามาตลอดเวลา

เวลาไปเรียนหนังสือหรือกลับมาบ้าน เขาจะไม่กล้ามองสบตากับพนักงานที่บ้าน เขาจะเลี่ยงเดินเข้าบ้านและขึ้นบนบ้านไปเลย เขาจะไม่แสดงให้แม่เห็นว่าเขาเป็นอย่างที่เขาเป็น จนเรามารู้ทีหลังว่า เขาชอบผู้ชายเหมือนกัน แต่ถ้าเขาอยู่กับเพื่อนๆเขาจะแสดงออก แต่กับพ่อแม่พี่เขาจะไม่ให้รู้เลย แต่น้องสาวของเขาคงจะรู้กันกับพี่ชาย แต่เขาก็ไม่บอกให้พ่อแม่รู้เลย พอมารู้ที่หลังว่าลูกเราเป็นสาวประเภทสองเรารู้สึกเสียใจ ยิ่งคุณพ่อของเขายิ่งรับไม่ได้เลย เขาจะด่าว่าจะตัดลูกกันเลย แล้วจะไม่ให้ข้าพเจ้าเอาใจใส่ลูก ไม่ให้สนใจลูกได้อย่างไร เพราะเขาเกิดมาเป็นลูกของเราถ้าพวกเราไม่สนใจเขา เขาก็จะอ้างว้าง ว้าเหว่ และจะคิดสั้นได้ เราก็เลยนั่งคิดว่ามันเป็นกรรมของเราที่เกิดเขามาเป็นคนแบบนี้ เราก็มานั่งนึกย้อนถึงอดีตและญาติพี่น้อง ว่าครอบครัวเขาก็มีเป็นเหมือนกัน และความที่เรารักลูกมาก เป็นห่วงเขาและกลัวเขาจะน้อยใจว่าทำไมเขาถึงเป็นอย่างนี้ แล้วมาคิดอีกทีว่า คนเราเกิดมาใครๆก็ไม่อยากเป็นชีวิตที่เหมือนคนครึ่งหญิงครึ่งชายหรอก เพราะยึดถือกรรมเวรตนเรา ก็ทำให้ยิ่งเห็นใจเขามากขึ้น ยิ่งมาคิดว่าเขามีปมด้อยอยู่แล้ว แล้วเราเป็นแม่จะเพิ่มความทุกข์ให้เขาอีกหรือ ยิ่งเขาเป็นแบบนี้ ต้องรักเขามากขึ้น และมากกว่าคนธรรมดาอีกหลายเท่า

ตั้งแต่นั้นมา ข้าพเจ้าจะพยายามพูดคุยให้คุณพ่อเขาเข้าใจและยอมรับความจริง แต่กว่าจะยอมรับได้ก็ใช้เวลาอยู่หลายปี จนมาเดี๋ยวนี้ เขาจะให้ข้าพเจ้าโทรหาลูกตลอดเพราะตัวของลูกเป็นคนดี เวลาเรียนก็ตั้งใจเรียน คบเพื่อนดีๆ และเป็นห่วงพ่อแม่ตลอด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะโทรถามสารทุกข์สุขดิบตลอดเวลา จนมาถึงวันนี้คุณพ่อเขาจะเอ่ยออกมาว่า แม่ทำไมไม่โทรไปหาลูก เป็นห่วงลูกเพราะลูกเราเป็นคนดีข้าพเจ้าสบายใจมาก ถึงแม้เราไม่ได้ลูกชายก็ไม่เป็นไร สมัยนี้จะลูกผู้หญิงหรือลูกผู้ชาย ถ้าเราเลี้ยงเขาดีให้ความสนิทสนมให้ความรัก และความอบอุ่น ความผูกพัน ติดตามดูเขา สอนเขาให้เป็นคนดี มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ และเป็นคนดีของสังคมและทำให้ประเทศชาติ และศาสนาเจริญรุ่งเรือง แม่กับพ่อก็พอใจและสบายใจ และมีความสุขกับลูก กับบางคนที่เขาได้ลูกชาย แต่เขาไม่เอาใจใส่ดูแลก็ทำให้เขาทุกข์ใจได้เหมือนกัน สู้เราเลี้ยงลูกให้ดี ลูกจะทำอะไรให้ทำในสิ่งที่ดีงามเราก็จะสนับสนุนเขาดีกว่า ลูกก็มีความสุข เราเป็นพ่อแม่ก็มีความสุขเหมือนกัน ข้าพเจ้าเองในตอนนี้ มีความสุขที่สุดที่ลูกของเราเป็นคนดีของสังคม"

---------

ขอบคุณแม่มากค่ะ รักแม่ที่สุดค่ะ ... 12 ส.ค. 2557




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 เหตุผลทำไมเราจึงต้องพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ (ในประเทศไทย)

ทำไมเราจึงต้องมาพูดเรื่องการเปลี่ยนคำนำหน้านามของหญิงและชายข้ามเพศ: 1. เพราะเพศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิง ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศที่ให้การยอมรับกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเชิงสังคมวัฒนธรรม ถึงขั้นคนต่างชาติยกย่องให้เป็น "the paradise of LGBT" หรือ ''สวรรค์ของเกย์ ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ ทอมดี้ หญิงรักหญิง และคนรักสองเพศ" ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการยอมรับเชิงสังคมวัฒนธรรมเป็นการยอมรับเชิงกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกเพศในสังคมไทย 2.การเปลี่ยนคำนำหน้านามของคนข้ามเพศในเอกสารราชการไม่ได้เป็น "สิทธิพิเศษ" น้อยครั้งมากที่บุคคลที่นิยามตัวเองว่าชายหรือหญิงจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตนถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตนทางเพศ" ของตนเองจากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ในต่างประเทศ) และบุคคลทั่วไป เพราะตัวตนทางเพศไม่ได้ดูขัดแย้งกับคำนำหน้านามในบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง และเอกสารสำคัญทางราชการ ในทางตรงกันข้าม กะเทย และคนข้ามเพศจะต้องตอบคำถามจากคนอีกจำนวนมากถึงความเป็นเพศ ตัวตนทา...

หยุด "กลัว" กะเทย

“เกิดเป็นกะเทยเสียชาติเกิด” “กรรมเก่า … ทำความดีในชาตินี้จะได้เกิดเป็นชายจริงหญิงแท้ในชาติหน้า” “กะเทยควาย กะเทยหัวโปก กะเทยลูกเจี๊ยบ …” “กะเทยห้ามบวช ห้ามเป็นทหาร ห้ามเป็นหมอ ห้ามเป็นครูอาจารย์ ห้ามแต่งหญิงในที่ทำงาน!!!” “กะเทยต้องแต่งหน้า ทำผมเก่ง เต้นเก่ง และ “โม๊ก” เก่ง … ต้องตลก และมีอารมณ์ขัน” ฉันเชื่อว่ากะเทยหลายคนเติบโตมากับเสียงสะท้อนเหล่านี้จากสังคม คนรอบข้าง และจากเพื่อนกะเทยด้วยกัน หลายครั้งชีวิตของคนคนหนึ่งไม่ได้มีอิสระในการเลือกตามความเข้าใจของพวกเรา เมื่อ “ความเป็นเรา” ถูกทำให้เป็นอื่น หรือ “แปลก” และ “แตกต่าง” ความเป็นเราจึงถูกจำกัดทำให้บางครั้งคนคนหนึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้ชีวิตแบบใด หรือมีความสนใจในเรื่องใด เพราะเขาหรือเธอไม่อยาก “แปลก” หรือให้ใครเห็นว่าพวกเขา“ต่าง” จากคนอื่นๆ เมื่อการเป็นกะเทยถูกทำให้เป็นเรื่อง “แปลก” ในสังคมไทยที่พร้อมจะตัดสินความแปลกเป็นความ“ผิด” หรือ “ผิดปกติ” เสียงสะท้อนจากสังคม คนรอบข้าง รวมถึงกะเทยคนอื่นๆ จึงจำกัดจินตนาการ และวิถีชีวิตที่หลากหลายของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ นอกจากนี้การตัดสินว่ากะเทยคนหนึ่งต้องทำหรือไม่ทำอ...

ถ้าวันหนึ่ง...

ถ้าวันหนึ่ง... ประชากรส่วนใหญ่บนโลกเป็นเกย์กะ เทยทอมดี้ ... คนรักต่างเพศจะเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ หญิง ผู้ชายสามารถท้องแทนภรรยาด้วยนว ัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ห้องน้ำไม่แยกหญิงชาย แต่เป็นห้องน้ำ Unisex ที่ใครเพศใดจะเข้าก็ได้  คนสามารถเลือกเพศได้ในเอกสารทาง ราชการ ... เลือกที่จะเป็นนางสาวหรือนางก็ไ ด้เมื่อแต่งงาน ใครจะแต่งงานกับใครก็ได้ เรื่องความรักเป็นเรื่องของคนสอ งคน ศาสนาจะไม่ใช่เหตุผลของการทำสงค ราม ระบบการศึกษาจะมีบทเรียนเรื่องเ พศสำหรับเยาวชน ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องความเป็น เพศที่หลากหลาย ครูอาจารย์จะไม่ใช่ศูนย์กลางของ การเรียนการสอน แต่การศึกษาเป็นการสร้างการมีส่ วนร่วมของผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนมีส่วนช่วยคิดแผนการ เรียน การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก ศาสนาจะไม่ใช่เครื่องมือตัดสินค วามผิดถูก แต่เป็นสถาบันที่ช่วยพัฒนาความเ ป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์เพื่อนำไป สู่ความผาสุกของสังคม ประชาชนสามารถมีความคิดเห็นแตกต ่างทางการเมือง รัฐจะมีพื้นที่สำหรับคนที่เห็นต ่างได้แสดงออก (การเมืองแบบสองขั้วต่างเป็นการ เมืองที่ไม่สร้างสังคมประชาธิปไ ตย) ระบบสาธา...