ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Beyond Visibility: Pose ในแง่มุมที่มากกว่าการสร้าง "ภาพปรากฏ" ของผู้หญิงข้ามเพศบนจอแก้ว

“ รู้ใช่หรือไม่ว่ามันหมายถึงอะไร การที่เราสามารถอยู่บนโลกที่มีแต่ผู้หญิงและผู้ชาย โลกของคนผิวขาว ที่ทุกคนพยายามแสวงหาความฝันของอเมริกันชน แต่พวกเราไม่เคยเข้าถึงความฝันนั้นเลย ไม่ใช่เพราะเราทำมันไม่ได้นะ เชื่อฉันเถอะ ฉันหมายความว่า … ทำไมเธอจะไม่พยายามทำตามฝันนั้นล่ะ ? แค่เธอขยับตัวเต้นให้คนทั้งโลกได้เห็น ? โลกอาจจะยอมรับคนแบบเราก็ได้ ?”  Blanca พูดเพื่อให้กำลังใจกับ Damon ชายหนุ่มแอฟริกันอเมริกันอายุ 17 ปี ที่หนีออกจากบ้านที่พ่อแม่ไม่ยอมรับเขาที่เป็นเกย์ และได้เดินทางมานิวยอร์ก จนมาพบกับ Blanca ซึ่งเป็นผู้หญิงข้ามเพศที่เปิดบ้านของเธอในฐานะผู้ปกครองของเขา บทพูดนี้เป็นบทพูดก่อนที่ Damon จะเปิดตัวในงานบอลรูม (Ballroom) งานแรกของเขา ฉากนี้เป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง Pose สะท้อนให้ผู้ชมเห็นถึงสังคมอเมริกาในปลายยุค 80 ยุคที่กำลังมีการระบาดของเชื้อเอชไอวี การเลือกปฎิบัติเชิงโครงสร้างต่อคนผิวสี และการกีดกันต่อคนที่มีความหลากหลายทางเพศ     Pose เป็นซีรีส์ที่สร้างประวัติศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นซีรีส์ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง FX ที่ได้รวบรวมนักแสดงที่เป็นคนข้ามเพศ
โพสต์ล่าสุด

Post Pride Dream: เดินหน้าหรือถอยหลัง และความฝันที่ดีกว่า

                    เดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ "Pride" ทำให้ใครหลายคนคิดไปถึงไพรด์ของปีหน้า พร้อมกับความหวังที่จะได้ "ไพรด์" ในฝันกลับคืนมา โดยไม่ต้องกังวลกับสถานการณ์ของการระบาดของโรคโควิด-19 เหมือนในปีนี้ ที่สถานการณ์การระบาดทำให้กิจกรรม "ไพรด์" ต้องเปลี่ยนไปจัดในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการเลี่ยงความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ถึงกระนั้น "ไพรด์" ของปีนี้ก็มาพร้อมกับความตื่นเต้น และสีสันไม่น้อยเลยทีเดียว                     เริ่มต้นด้วยปรากฏการณ์ที่ธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนโลโก้ทางธุรกิจให้มีสีรุ้ง สร้างภาพธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเดือนไพรด์ร่วมกับชุมชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แม้ว่าจะมีเสียงของนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนและคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่กล่าวว่าธุรกิจเหล่านี้พยายามหาผลประโยชน์จาก "ไพรด์" และ "กระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเท่าเทียมของ LGBTIQ+" โดยนักเคลื่อนไหว LGBTIQ+ ได้ยกประเด็น "Rainbow Capitalism" หรือ "Pinkwashing" มาใช้อธ

หมวกของฉัน ของเธอ ของเรา และไพรด์

            เมื่อฉันกลับถึงบ้านจากการเดินทางไปอยู่ต่างประเทศมามากกว่า 10 ปี ฉันกลับมาสวมหมวกของความเป็นลูกสาว ที่มีตัวตนทางเพศเป็นกะเทยอีกครั้ง หมวกใบนี้มันถูกทับซ้อนไว้กับหมวกใบอื่นมานานพอกับชีวิตวัยผู้ใหญ่ที่ฉันได้ออกไปใช้ชีวิตของตัวเอง และตัดสินใจกลับมาอยู่กับแม่อีกครั้งเมื่อฉันอายุ 40 ปี  และแม่ของฉันอายุ 76 ปี ... มองย้อนกลับไป กะเทยคนนี้ออกจากบ้านภายหลังเรียนจบมัธยมปลาย ได้สวมหมวกทางสังคมจากอัตลักษณ์ที่หลากหลายทับซ้อนไปมา โดยที่หมวกหลายใบนั้นมีคนหยิบยื่นให้ฉัน และมีอีกมากที่ฉันหยิบมาสวมเอง                   ชีวิตนักกิจกรรม (Activist) ที่ทำงานด้านสิทธิของกะเทยและคนข้ามเพศ ก็คือหมวกอีกใบที่ฉันสวมใส่ทุกครั้งในโลกของมนุษย์วัยทำงาน และหมวกใบนี้เองที่ทำให้เดือนมิถุนายนเป็นเดือนสุดพิเศษสำหรับฉัน เพราะเดือนมิถุนายนคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจ หรือ “ ไพรด์ ” สำหรับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ... แม้ว่าไพรด์ในปีนี้จะดูเงียบเหงากว่าทุกปีเพราะพิษการระบาดของโรคโควิด 19 ทั่วโลก แต่การได้เห็นนิวยอร์คไพรด์พาเหรดที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวานนี้ คือความหวัง ที่ว่า โลกกำลังทำงานเพื่อเยียวยาสิ่งมีชีวิต

Drag สายไทย

Drag Race Thailand ไม่ใช่รายการกะเทยแต่งหญิง หรือเอาชายมาแต่งหญิง แล้วมาแข่งขันลิปซิ้งค์หาผู้ชนะ  รายการนี้ไม่ใช่รายการทีวีที่นำกะเทยเกย์มารวมกันเพื่อเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมรายการเพียงเท่านั้น ถ้าคุณกำลังชม Drag Race Thailand และคิดว่ารายการนี้เหมือนกับภาพยนตร์ไทยบางเรื่อง ที่มักจะฉายภาพของกะเทยให้เป็นแค่ตัวตลก เรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมแล้วล่ะก็ ฉันคิดว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คุณจะเห็นเพียงความขบขันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทางรายการนำเสนอ แม้ว่าฉันอาจจะไม่ใช่แฟนพันธ์ุแท้ของรายการ Rupaul Drag Race รายการต้นฉบับของ Drag Race Thailand ในขณะนี้ แต่ฉันก็ได้ติดตามชมรายการนี้ในหลายซีซั่น และรวมถึงได้ชมการแสดงสดของผู้แข่งขันรายการดังกล่าว นอกจากนี้ฉันยังได้มีโอกาสชมการแสดงของเหล่าตัวแม่ drag ที่โชว์ตามเกย์บาร์ต่างๆในกรุงวอซิงตันดีซี ... ฉันจึงตื่นเต้นกับข่าวการเปิดตัวรายการ Drag Race Thailand ไม่ต่างจากกะเทยคนอื่นๆ ฉันไม่แน่ใจว่ารายการ Drag Race Thailand จะรักษารูปแบบการนำเสนอของรายการต้นฉบับหรือไม่ หรือจะปรับธีมรายการให้เข้ากับความเป็นไทยเพื่อให้เข้าถึงผู้ชมแบบไทย ไม่ว่าทางรายการจะตัดสินใจนำ

When I Fall in Love … (Again)

Looking back years ago when I was still figuring out my identity, I had never had luck in men. I remembered guys I had a feeling for in my teenage always turned me away.I thought to myself I would never find any boyfriend and shouldn’t think too hard about having one because I am a transgender woman. No men would be attracted to me because I am not a “real” woman.   Until I reach my puberty, my first boyfriend was the man I had been with for almost 6 years from my college years until I got the first job as a project manager with the leading national LGBT organization in Thailand. Though I often questioned my appearance during my early transition, just like other young girls in their teenage years, my boyfriend would give me the compliments on how beautiful I was. And the support I had from him helped me affirmed my womanhood; the inner woman in me that awaited to blossom when the right time came.   One day when we had an argument, I said, “I am just a kathoey (a Thai term for