ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Post Pride Dream: เดินหน้าหรือถอยหลัง และความฝันที่ดีกว่า

                เดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ "Pride" ทำให้ใครหลายคนคิดไปถึงไพรด์ของปีหน้า พร้อมกับความหวังที่จะได้ "ไพรด์" ในฝันกลับคืนมา โดยไม่ต้องกังวลกับสถานการณ์ของการระบาดของโรคโควิด-19 เหมือนในปีนี้ ที่สถานการณ์การระบาดทำให้กิจกรรม "ไพรด์" ต้องเปลี่ยนไปจัดในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเป็นการเลี่ยงความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ถึงกระนั้น "ไพรด์" ของปีนี้ก็มาพร้อมกับความตื่นเต้น และสีสันไม่น้อยเลยทีเดียว 

                เริ่มต้นด้วยปรากฏการณ์ที่ธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนโลโก้ทางธุรกิจให้มีสีรุ้ง สร้างภาพธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเดือนไพรด์ร่วมกับชุมชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แม้ว่าจะมีเสียงของนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนและคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่กล่าวว่าธุรกิจเหล่านี้พยายามหาผลประโยชน์จาก "ไพรด์" และ "กระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเท่าเทียมของ LGBTIQ+" โดยนักเคลื่อนไหว LGBTIQ+ ได้ยกประเด็น "Rainbow Capitalism" หรือ "Pinkwashing" มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ในภาคธุรกิจ และหวังเพียงว่าจะสร้างกระแสสังคมที่ทำให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และส่งเสรืมความเท่าเทียมทางเพศกับกลุ่ม LGBTIQ+ อย่างแท้จริง 

                แม้ว่าโลโก้ต่างๆจะถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นโลโก้ทางธุรกิจเดิมภายหลังเดือนมิถุนายนสิ้นสุดลง ทำให้เป็นที่น่าจับตามองว่าธุรกิจสีรุ้งที่เกิดขึ้นในเดือน "ไพรด์" มีนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และมีส่วนในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและสิทธิฯของ LGBTIQ+ มากน้อยเพียงใดในสังคมไทย เราเห็นธุรกิจจำนวนหนึ่งมีการเปลี่ยนนโยบายแผนกบุคคลที่มอบสิทธิประโยชน์ให้กับคู่ชีวิตของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่สวนทางกับกฏหมายที่ล้าหลัง เพราะกฏหมายไทยยังไม่รับรองสถานะของคู่ชีวิต หรืออนุญาติให้คนรักเพศเดียวกันแต่งงานได้ เรานับถือในการเป็นผู้เริ่มของธุรกิจเหล่านั้น และอยากเห็นการพัฒนาที่มากขึ้นในภาคธุรกิจ โดยที่ไม่ต้องรอ "ไพรด์" ในปีหน้าวนกลับมาอีกครั้ง 

                 เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะบนโลกของสื่อสังคมออนไลน์ เป็นที่น่ายินดีที่วัยรุ่นหลากหลายเพศมีทางเลือกมากขึ้นในการเข้าร่วมกิจกรรมในเดือน "ไพรด์" หรือมีช่องทางในการเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศที่มากขึ้นจากสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งที่มาจากดารา และ Influencer หลากหลายสื่อ และองค์กรชุมชนที่เกิดขึ้น offline และ online ที่มีจำนวนมากขึ้น เดือนไพรด์ที่ผ่านมาเราเห็นนิตยสาร "สารคดี" ซึ่งเป็นนิตยสารในกระแสหลักที่ลงคอลัมส์เกี่ยวกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย ไปจนถึง "คู่มือผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานหลากหลายเพศ" ที่จัดทำโดยมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นคู่มือเล่มแรกในประเทศไทยที่พูดถึงการเลี้ยงดูลูกหลานหลากหลายเพศในแบบที่ควรจะเป็น

                นอกจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Live ทาง Facebook, Tik Tok, Clubhouse, รายการผ่านช่องทาง YouTube ในประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นกับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เรียกได้ว่าพื้นที่ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศมีความเบิกบานในเดือนแห่ง "ไพรด์" ... เราเห็นการเปิดพื้นที่ที่มาพร้อมกับการสะท้อนถึงสภาพปัญหาที่คนที่มีความหลากหลายทางเพศยังต้องเผชิญในสังคมไทย เช่น การถูกเลือกปฏิบัติและความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม การไม่มีกฏหมายคุ้มครองและรองรับ ความไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนชายขอบในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ไปจนถึงการแสวงหาความอยู่รอดจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19   

               เดือน "ไพรด์" ของใครหลายคน คือ การได้ไปถ่ายรูปตามสถานที่ต่างๆที่มีการตกแต่งด้วยธงสีรุ้งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองของชาวสีรุ้ง หรือ "คนที่มีความหลากหลายทางเพศ" หนึ่งในสถานที่ที่เป็น Hotspot คือ สามย่าน มิตรทาวน์ ที่ใครหลายคนผ่านไปต้องแวะถ่ายภาพสัญลักษณ์ของชุมชน LGBTIQ+ จนอาจจะเผลอคิดไปว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ให้สิทธิเท่าเทียมสำหรับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยไม่รู้ว่าไพรด์เกิดขึ้นมาจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิฯ และขจัดความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับกลุ่ม LGBTIQ+ ... การเฉลิมฉลองเป็นเรื่องสนุก และสร้างความสุข แต่การเฉลิมฉลองที่เกิดขึ้นไม่ควรลืมที่มา และจิตวิญญาณของ "ไพรด์" ที่เป็นจุดเริ่มต้น และเหตุผลที่ LGBTIQ+ ออกมาเฉลิมฉลอง              

                เดือนมิถุนายนจบลงเป็นการสิ้นสุดเดือนแห่ง "ไพรด์" อย่างเป็นทางการ พร้อมกับข่าวเศร้าที่ผู้เข้าประกวดที่ได้รับตำแหน่ง Miss Tiffany คนแรกของการประกวด ซึ่งจัดในปีพ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เสียชีวิต อดคิดไม่ได้ว่า LGBTIQ+ จำนวนมากที่กำลังเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากอคติทางเพศ การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรง โดยไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้ แม้ว่าหลายคนอาจจะมองว่าการเสียชีวิตของคุณเอฟ ธนาภรณ์ วงศ์ประเสิร์ฐ เกิดขึ้นจากเหตุผลส่วนบุคคล แต่ถ้าเรามองกลับกันว่า คนที่เป็น LGBTIQ+  ได้รับการปฏิบัติจากคนอื่นด้วยความเคารพ ไม่เลือกปฏิบัติ มีสิทธิเท่าเทียมกับประชากรชายหญิง และมีบริการสุขภาพกาย ใจ และสังคมที่เข้าใจ เข้าถึงได้ และมีคุณภาพ ... จะทำให้คนที่เป็น LGBTIQ+ มีภูมิคุ้มกันทางสังคม มีโอกาสเข้าถึงความสุขได้อย่างเท่าเทียม และจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้น จากความเข้าใจของคนรอบข้างในสังคม ที่รวมถึงสถาบันทางสังคมทุกสถาบัน 

                จะมีวันนั้นหรือไม่ ที่คนในชุมชน LGBTIQ+ จะสามารถเฉลิมฉลอง "ไพรด์" ทุก ๆ 365 วัน เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความเท่าเทียมกับทุกคน โดยไม่ได้จำกัดว่าใครจะเป็น "เพศ" ใด หรือใครจะ "รัก" กับใคร 

                หรือเราต้องรอ "เดือนมิถุนายน" ของปีหน้า และปีต่อไป เพื่อหาเหตุผลที่เราจะออกมาเฉลิมฉลองพร้อมกับธงหลากสีอีกครั้ง  




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทาส ผิวขาว และสังคมไทย

ฉันนึกถึงภาพยนตร์ไทยเรื่องพระนเรศวร หนังจอเงินที่คนไทยหลายคนได้ดูไม่ว่าจะได้ดูเพียงภาคใดภาคหนึ่งในหลายๆภาค หรือตอนใดตอนหนึ่งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หลายคนคงตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไทยที่ภาพยนตร์พยายามนำเสนอ อย่างไรก็แล้วแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้หยิบยกรายละเอียดเพียงบางมุมที่ผู้กำกับและผู้เขียนบทต้องการจะนำมาสื่อสารกับผู้ชมเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ตามผู้ชมก็พอจะได้เรียนรู้ประวิติศาสตร์ไทยจากภาพยนตร์เรื่องพระนเรศวรไม่มากก็น้อย สิ่งหนึ่งที่ฉันได้เรียนรู้ในหนังอย่างเรื่องพระนเรศวรคือเรื่องสีผิวคนไทยที่ไม่ขาวแบบฝรั่งหรือไม่ดำแบบชาวแอฟริกัน คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณไม่ได้เป็นคนขาวแต่อย่างใด ... ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทยหลายเรื่องก็ไม่ได้ใช้นักแสดงที่มีผิวสีขาวผุดผ่อง นั้นอาจจะเป็นเพราะนักแสดงผิวขาวจะทำให้หนังประวิติศาสตร์ไทยมีความบิดเบือนในเรื่องของรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ หรือจะเป็นเพราะเหตุผลอื่น ซึ่งฉันขอเพียงตั้งไว้เป็นข้อสังเกตเท่านั้น ตอนเป็นเด็ก ฉันเรียนวิชาสังคมศึกษาที่อาจารย์มักสอนฉันว่า ประเทศไทยมีชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ นั่นคือ ประเทศไทยม

พลังเยาวชนกะเทย

คิดย้อนกลับไปสมัยที่วันเด็กเป็นหนึ่งในวันสำคัญที่สุดของชีวิต วันเด็กเป็นวันที่เด็กหลายคนจะต้องไปธนาคารออมสินเพื่อรับของขวัญเป็นกระปุกออมสินราคาถูกๆ แต่ดีใจราวกับถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง วันเด็กที่เด็กบางคนจะต้องไปแสดงความสามารถต่างๆในงานวันเด็กของจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นการประกวดร้องเพลง แข่งวาดภาพ แข่งคัดลายมือ แข่งอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ตามรายการแข่งขันสาระพัดนับไม่ถ้วนที่จัดหามาเพื่อให้เด็กเก่งมาแสดงความสามารถ อีกเรื่องหนึ่งที่พอจะจำได้คือ วันเด็กเป็นวันที่เราต้องจำคำขวัญที่ถูกแต่งขึ้นมาโดยนายกรัฐมนตรีเพื่อใช้ในวันเด็กประจำปีของแต่ละปี และคำขวัญเหล่านี้ก็ดูเหมือนจะคล้ายกันทุกปี คือ เป็นเด็กต้องเป็นเด็กดี มีวินัย ใฝ่การศึกษา หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ประหนึ่งว่าชีวิตของเด็กคนหนึ่งจะผูกผันกับเรื่องราวเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น ดังนั้นความเป็นเด็กในมายาคติแบบไทย จะหลงลืมเด็กจำนวนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อว่าเด็กไทยต้องอยู่ในพื้นที่โรงเรียนและบ้านเท่านั้น เด็กไทยจะต้องกตัญญูเชื่อฟังพ่อแม่ และ เด็กไทยทั้ง "เด็กชาย" และ "เด็กหญิง" จะเป็นอนาคตข

Why?

Why?  A: What make you a transgender woman?  B: Well, I don't know.  A: If being trans is difficult, why don't you try to change?  B: I can't change. This is me!  A: Are you happy of being a trans woman.  B: Well, all of us suffer one way or another, but we can be happy. It is life, you know?  B: What make you a man? A: I was born a boy so I am a man. B: Do you really believe that? A: Yes, I do. Everyone else also think that I am a man and they want to see me a masculine man. B: Ok, you are a man or at least you believe you are a man.  A: Why did you ask me this question? It is weird! B: It isn't. For me, the strange thing is that your world has 2 gender, but gender is more diverse in my world. Sadly, you are whoever other people tell you to be. I am who I am because I know who I wanna be. I am so happy!