ฉันนึกถึงภาพยนตร์ไทยเรื่องพระนเรศวร หนังจอเงินที่คนไทยหลายคนได้ดูไม่ว่าจะได้ดูเพียงภาคใดภาคหนึ่งในหลายๆภาค หรือตอนใดตอนหนึ่งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หลายคนคงตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไทยที่ภาพยนตร์พยายามนำเสนอ อย่างไรก็แล้วแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้หยิบยกรายละเอียดเพียงบางมุมที่ผู้กำกับและผู้เขียนบทต้องการจะนำมาสื่อสารกับผู้ชมเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ตามผู้ชมก็พอจะได้เรียนรู้ประวิติศาสตร์ไทยจากภาพยนตร์เรื่องพระนเรศวรไม่มากก็น้อย สิ่งหนึ่งที่ฉันได้เรียนรู้ในหนังอย่างเรื่องพระนเรศวรคือเรื่องสีผิวคนไทยที่ไม่ขาวแบบฝรั่งหรือไม่ดำแบบชาวแอฟริกัน คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณไม่ได้เป็นคนขาวแต่อย่างใด ... ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทยหลายเรื่องก็ไม่ได้ใช้นักแสดงที่มีผิวสีขาวผุดผ่อง นั้นอาจจะเป็นเพราะนักแสดงผิวขาวจะทำให้หนังประวิติศาสตร์ไทยมีความบิดเบือนในเรื่องของรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ หรือจะเป็นเพราะเหตุผลอื่น ซึ่งฉันขอเพียงตั้งไว้เป็นข้อสังเกตเท่านั้น
ตอนเป็นเด็ก ฉันเรียนวิชาสังคมศึกษาที่อาจารย์มักสอนฉันว่า ประเทศไทยมีชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ นั่นคือ ประเทศไทยมีประชากรที่ประกอบอาชีพกสิกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวนาที่ปลูกข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย อีกทั้งข้าวหอมมะลิก็เป็นสินค้าส่งออกของไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก คนทำนาจะมีผิวขาวไปไม่ได้ เนื่องจากการทำนาเป็นอาชีพที่ต้องทำกลางแจ้ง ทนแดดทนฝน แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีทางกสิกรรมที่มาช่วยทุ่นแรงชาวนาอยู่บ้าง ชาวนาและคนทำอาชีพการเกษตรก็ต้องทำงานแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน การจะมีผิวขาวผ่องใสนั้นก็ยิ่งเป็นไปได้ยากสำหรับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เป็นชาวนาชาวไร่และชาวสวน
เมื่อผิวขาวไม่ได้เป็นสิ่งคุ้นเคยมาตั้งแต่ดั้งเดิมสำหรับสังคมไทย การทำให้ผิวขาวเป็นเรื่องปกติของคนไทย และให้คุณค่าผิวขาวว่าเป็นสีผิวที่คนส่วนใหญ่ต้องการ จึงเป็นเรื่องที่บิดเบือนความจริง ฉันเป็นคนหนึ่งที่เคยอยากมีผิวขาว เพราะการมีผิวขาวเป็นปัจจัยหนึ่งของความสวยแบบอุดมคติของคนสมัยใหม่ อีกทั้งผิวขาวเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่มักจะทำให้คนอื่นๆคิดว่าฉันเป็นพนักงานออฟฟิชที่ไม่ต้องตากตรำท้าแดดท้าฝนเช่นเดียวกับคนที่ทำงานด้านการเกษตร หรือกรรมกร ผิวขาวกำลังให้ความหมายในเชิงบวกกับคนไทยว่า คนมีผิวขาวเป็นคนมีการศึกษา เป็นคนชนชั้นกลาง เป็นคนเมือง เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นคนรักสุขภาพ ตรงตามมาตราฐานคุณค่าทางสังคมไทยที่อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากสังคมกสิกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ประกอบกับสังคมทุนนิยมแบบไทยได้เอื้อให้ตลาดผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อผิวขาวเติบโตขึ้น คนในสังคมไทยได้ทำความคุ้นเคยกับเครื่องสำอางค์นานาชนิดที่มีคุณสมบัติในการกันรังสียูวี และเพิ่มความขาวใสของผิวหน้า ผิวตัว และผิวตามจุดอื่นๆของร่างกาย วิตามินที่มีคุณสมบัติหลากหลายจนนึกว่าเป็นยาวิเศษ และการทำศัลยกรรมเสริมความงามที่ทำให้ขาวแบบข้ามคืน สินค้าและบริการเหล่านี้ก็มีให้เลือกสรรตามแต่กำลังทรัพย์ของผู้บริโภคที่ใครจะซื้อสินค้าตัวไหน หรือบริการอะไร ก็มีให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรแบบนับไม่ถ้วน ไม่เชื่อลองนับโฆษณาที่เกี่ยวกับสินค้าเพื่อผิวขาวบนหน้าจอทีวี หรือไปเดินเล่นในแผนกเครื่องสำอางค์ของห้างสรรพสินค้าก็จะรู้ว่าฉันไม่ได้นั่งอุปทานขึ้นมาเองแต่อย่างใด
ผู้บริโภคซักกี่คนที่จะรู้ว่าตลาดสินค้าเหล่านี้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อรักษาความคิดความเชื่อเรื่องการมีผิวขาวของคนสมัยใหม่ และเปลี่ยนความเชื่อเหล่านั้นเป็นความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อผิวขาวในกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังทรัพย์แตกต่างกัน ความเหมือนกันเพียงเรื่องเดียวคือความต้องการมีผิวขาวตรงตามความสวยอุดมคติของสังคมทุนนิยม จะมีผู้บริโภคซักกี่คนที่จะรู้ว่าเราจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มผิวขาวหรือบำรุงผิวขาว เช่น ครีมทาผิวที่แข่งกันเรื่องค่าเอชพีเอฟ (SPF) สูงๆ ครีมอาบน้ำที่มีสรรพคุณในการเพิ่มความขาวใสของผิว (ในขณะที่การอาบน้ำใช้เวลาเพียงไม่นาน) หรือการกินวิตามินต่างๆที่ก็ไม่รู้ว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และจะมีผลกระทบกับสุขภาพอย่างไรบ้าง
จะมีใครรู้หรือไม่ว่า การสร้างคุณค่าและความหมายเรื่องการมีผิวขาว ได้เปลี่ยนคุณค่าแบบนามธรรมนี้เป็นมูลค่าหลักล้านในตลาดแบบทุนนิยมของบริษัทและนักการตลาดน้อยใหญ่ การมีผิวขาวได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ในวัฒนธรรมไทยที่มีแรงผลักจากสังคมทุนนิยม จนทำให้ข้อเท็จจริงบางประการไม่ได้ถูกพูดถึง ร้ายยิ่งไปกว่านั้นการตัดสินกันทางสีผิวกลายเป็นเรื่องที่ไม่ล้อเล่นอีกต่อไปในสังคมไทย สังคมที่ครั้งหนึ่งการมีผิวขาวเป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น การเป็นคนผิวขาวในสังคมไทยสมัยใหม่จึงมาพร้อมกับสัญลักษณ์บางประการที่เอื้อประโยชน์ต่อคนที่มีผิวขาว ในทางตรงกันข้ามคนที่มีสีผิวเข้มอาจจะเผชิญแรงกดดันบางประการ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสีผิวเข้มถูกทำให้เป็นรองอย่างเลี่ยงไม่ได้ในวงการความสวยงามของประเทศในทวีปเอเซีย อีกทั้งการมีผิวสีเข้มถูกให้สัญลักษณ์ที่ด้อยกว่าในเรื่องชนชั้นทางสังคม อาชีพการงาน เชื้อชาติ และสัญชาติ ร้ายไปกว่านั้น คือ การเหยียดสีผิวเป็นเรื่องที่เห็นชัดมากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน
เรื่อง "การมีผิวขาว" จึงเป็นเรื่องใหญ่ของคนทุกเพศในสังคมไทย และการที่สินค้าตัวหนึ่งจะออกมาสื่อสารว่า "แค่มีผิวขาว ก็ทำให้คุณชนะ" จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องทำความเข้าใจกับกระบวนการคิดของคนคิดงานโฆษณาชิ้นนี้ ซึ่งจะไปเอาโทษคนคิดโฆษณาชิ้นนี้ก็คงจะดูไม่เป็นธรรมนัก แม้ว่าคนคิดโฆษณาชิ้นนี้จะเพิกเฉยต่อเรื่องการแบ่งแยกสีผิวและเชื้อชาติ ที่ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ประเทศทางตะวันตกใช้เวลาในการต่อสู้มาเป็นเวลานาน อีกทั้งประเด็นเรื่องการเหยียดสีผิวยังคงเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวในหลายประเทศทั่วโลก
ดังนั้น การสื่อสารที่ตัดสินถูกหรือผิด ชนะหรือแพ้ ดำหรือขาว จึงเป็นสร้างความความไม่เป็นธรรมให้เกิดกับคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม งานโฆษณาชิ้นนี้จึงไม่เพียงแต่สร้างความอับอายให้กับบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์และคนคิดโฆษณา เพราะเพิกเฉยในประเด็นเรื่องการแบ่งแยกสีผิว หากแต่แนวคิดของโฆษณานี้ยังเผยเนื้อแท้ทางวัฒนธรรมไทยที่ยังกดขี่ และแบ่งแยกคนที่ถูกทำให้เป็นรองในสังคมไทย และคนที่เป็นรองเหล่านี้ก็คือคนที่ถูกให้คุณค่าว่าด้อยกว่าด้วยเรื่องสีผิว เพศ ชนชั้น การศึกษา เชื้อชาติและสัญชาติ
ด้วยข้อความที่ว่า "แค่มีผิวขาว ก็ทำให้คุณชนะ" จึงก่อให้เกิดแรงกดดันกับคนที่มีผิวเข้ม เพราะพวกเขาเหล่านั้นต้องตั้งคำถามกับความปกติของพวกเขาเองที่ถูกงานโฆษณานี้ยัดเหยียดให้เป็นความผิดปกติ หรือความด้อยกว่า ประเทศไทยจึงได้เป็นที่รู้จักอีกครั้งของนานาชาติ เพราะงานโฆษณาที่ละเลยประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกพยายามจะรณรงค์ เพื่อลดช่องว่างทางสังคมให้กับประชาชนที่มีสีผิว เพศ ชนชั้น เชื้อชาติ และสัญชาติที่ต่างกัน สิ่งที่สังคมไทยพอจะทำได้เพื่อให้คนไทยไม่ตกหลุมพลางทางการตลาดในสังคมทุนนิยม คือ การส่งเสริมความเท่าเทียมของประชาชนไทยทุกคนในระดับปัจเจก และระดับสถาบันทางสังคม ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรสร้างให้เป็นมาตราฐานและคุณค่าร่วมที่คนทุกคนในสังคมพึงระลึกและปฏิบัติ ก่อนที่สังคมไทยจะสู่ยุค "บ้า" ผิวขาวแบบไม่ลืมหูลืมตา
ฉันไม่อยากเห็นสังคมไทยเป็น "ผู้แพ้" ในสายตาชาวโลกเพียงเพราะกระบวนการคิดที่พร้อมตัดสิน และกดทับคนที่เห็นต่าง คนที่แตกต่าง และคนที่ถูกทำให้เป็นรองในสังคม ที่สำคัญ ฉันไม่อยากเห็นคนในสังคมไทยสมัยใหม่ตกเป็น "ทาส" ของการตลาดเพื่อผิวขาว ในขณะที่วิชาประวัติศาสตร์ไทยสอนให้เรารู้ว่า ประเทศไทยได้มีการเลิกทาสมาเป็นเวลามากกว่าร้อยปีแล้วก็ตาม
อาจถึงเวลาแล้วที่คนไทยรุ่นใหม่ต้องคิดเพื่อหาทางออกและก้าวพ้นจากการเป็นทาสของคุณค่านามธรรมที่ถูกสร้างเพื่อกำไรทางการตลาด และร่วมกันส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันทางสิทธิฯของคนที่มีความแตกต่างหลากหลายในสังคมไทย
ตอนเป็นเด็ก ฉันเรียนวิชาสังคมศึกษาที่อาจารย์มักสอนฉันว่า ประเทศไทยมีชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ นั่นคือ ประเทศไทยมีประชากรที่ประกอบอาชีพกสิกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวนาที่ปลูกข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย อีกทั้งข้าวหอมมะลิก็เป็นสินค้าส่งออกของไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก คนทำนาจะมีผิวขาวไปไม่ได้ เนื่องจากการทำนาเป็นอาชีพที่ต้องทำกลางแจ้ง ทนแดดทนฝน แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีทางกสิกรรมที่มาช่วยทุ่นแรงชาวนาอยู่บ้าง ชาวนาและคนทำอาชีพการเกษตรก็ต้องทำงานแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน การจะมีผิวขาวผ่องใสนั้นก็ยิ่งเป็นไปได้ยากสำหรับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เป็นชาวนาชาวไร่และชาวสวน
เมื่อผิวขาวไม่ได้เป็นสิ่งคุ้นเคยมาตั้งแต่ดั้งเดิมสำหรับสังคมไทย การทำให้ผิวขาวเป็นเรื่องปกติของคนไทย และให้คุณค่าผิวขาวว่าเป็นสีผิวที่คนส่วนใหญ่ต้องการ จึงเป็นเรื่องที่บิดเบือนความจริง ฉันเป็นคนหนึ่งที่เคยอยากมีผิวขาว เพราะการมีผิวขาวเป็นปัจจัยหนึ่งของความสวยแบบอุดมคติของคนสมัยใหม่ อีกทั้งผิวขาวเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่มักจะทำให้คนอื่นๆคิดว่าฉันเป็นพนักงานออฟฟิชที่ไม่ต้องตากตรำท้าแดดท้าฝนเช่นเดียวกับคนที่ทำงานด้านการเกษตร หรือกรรมกร ผิวขาวกำลังให้ความหมายในเชิงบวกกับคนไทยว่า คนมีผิวขาวเป็นคนมีการศึกษา เป็นคนชนชั้นกลาง เป็นคนเมือง เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นคนรักสุขภาพ ตรงตามมาตราฐานคุณค่าทางสังคมไทยที่อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากสังคมกสิกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ประกอบกับสังคมทุนนิยมแบบไทยได้เอื้อให้ตลาดผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อผิวขาวเติบโตขึ้น คนในสังคมไทยได้ทำความคุ้นเคยกับเครื่องสำอางค์นานาชนิดที่มีคุณสมบัติในการกันรังสียูวี และเพิ่มความขาวใสของผิวหน้า ผิวตัว และผิวตามจุดอื่นๆของร่างกาย วิตามินที่มีคุณสมบัติหลากหลายจนนึกว่าเป็นยาวิเศษ และการทำศัลยกรรมเสริมความงามที่ทำให้ขาวแบบข้ามคืน สินค้าและบริการเหล่านี้ก็มีให้เลือกสรรตามแต่กำลังทรัพย์ของผู้บริโภคที่ใครจะซื้อสินค้าตัวไหน หรือบริการอะไร ก็มีให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรแบบนับไม่ถ้วน ไม่เชื่อลองนับโฆษณาที่เกี่ยวกับสินค้าเพื่อผิวขาวบนหน้าจอทีวี หรือไปเดินเล่นในแผนกเครื่องสำอางค์ของห้างสรรพสินค้าก็จะรู้ว่าฉันไม่ได้นั่งอุปทานขึ้นมาเองแต่อย่างใด
ผู้บริโภคซักกี่คนที่จะรู้ว่าตลาดสินค้าเหล่านี้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อรักษาความคิดความเชื่อเรื่องการมีผิวขาวของคนสมัยใหม่ และเปลี่ยนความเชื่อเหล่านั้นเป็นความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อผิวขาวในกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังทรัพย์แตกต่างกัน ความเหมือนกันเพียงเรื่องเดียวคือความต้องการมีผิวขาวตรงตามความสวยอุดมคติของสังคมทุนนิยม จะมีผู้บริโภคซักกี่คนที่จะรู้ว่าเราจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มผิวขาวหรือบำรุงผิวขาว เช่น ครีมทาผิวที่แข่งกันเรื่องค่าเอชพีเอฟ (SPF) สูงๆ ครีมอาบน้ำที่มีสรรพคุณในการเพิ่มความขาวใสของผิว (ในขณะที่การอาบน้ำใช้เวลาเพียงไม่นาน) หรือการกินวิตามินต่างๆที่ก็ไม่รู้ว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และจะมีผลกระทบกับสุขภาพอย่างไรบ้าง
จะมีใครรู้หรือไม่ว่า การสร้างคุณค่าและความหมายเรื่องการมีผิวขาว ได้เปลี่ยนคุณค่าแบบนามธรรมนี้เป็นมูลค่าหลักล้านในตลาดแบบทุนนิยมของบริษัทและนักการตลาดน้อยใหญ่ การมีผิวขาวได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ในวัฒนธรรมไทยที่มีแรงผลักจากสังคมทุนนิยม จนทำให้ข้อเท็จจริงบางประการไม่ได้ถูกพูดถึง ร้ายยิ่งไปกว่านั้นการตัดสินกันทางสีผิวกลายเป็นเรื่องที่ไม่ล้อเล่นอีกต่อไปในสังคมไทย สังคมที่ครั้งหนึ่งการมีผิวขาวเป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น การเป็นคนผิวขาวในสังคมไทยสมัยใหม่จึงมาพร้อมกับสัญลักษณ์บางประการที่เอื้อประโยชน์ต่อคนที่มีผิวขาว ในทางตรงกันข้ามคนที่มีสีผิวเข้มอาจจะเผชิญแรงกดดันบางประการ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสีผิวเข้มถูกทำให้เป็นรองอย่างเลี่ยงไม่ได้ในวงการความสวยงามของประเทศในทวีปเอเซีย อีกทั้งการมีผิวสีเข้มถูกให้สัญลักษณ์ที่ด้อยกว่าในเรื่องชนชั้นทางสังคม อาชีพการงาน เชื้อชาติ และสัญชาติ ร้ายไปกว่านั้น คือ การเหยียดสีผิวเป็นเรื่องที่เห็นชัดมากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน
เรื่อง "การมีผิวขาว" จึงเป็นเรื่องใหญ่ของคนทุกเพศในสังคมไทย และการที่สินค้าตัวหนึ่งจะออกมาสื่อสารว่า "แค่มีผิวขาว ก็ทำให้คุณชนะ" จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องทำความเข้าใจกับกระบวนการคิดของคนคิดงานโฆษณาชิ้นนี้ ซึ่งจะไปเอาโทษคนคิดโฆษณาชิ้นนี้ก็คงจะดูไม่เป็นธรรมนัก แม้ว่าคนคิดโฆษณาชิ้นนี้จะเพิกเฉยต่อเรื่องการแบ่งแยกสีผิวและเชื้อชาติ ที่ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ประเทศทางตะวันตกใช้เวลาในการต่อสู้มาเป็นเวลานาน อีกทั้งประเด็นเรื่องการเหยียดสีผิวยังคงเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวในหลายประเทศทั่วโลก
ดังนั้น การสื่อสารที่ตัดสินถูกหรือผิด ชนะหรือแพ้ ดำหรือขาว จึงเป็นสร้างความความไม่เป็นธรรมให้เกิดกับคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม งานโฆษณาชิ้นนี้จึงไม่เพียงแต่สร้างความอับอายให้กับบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์และคนคิดโฆษณา เพราะเพิกเฉยในประเด็นเรื่องการแบ่งแยกสีผิว หากแต่แนวคิดของโฆษณานี้ยังเผยเนื้อแท้ทางวัฒนธรรมไทยที่ยังกดขี่ และแบ่งแยกคนที่ถูกทำให้เป็นรองในสังคมไทย และคนที่เป็นรองเหล่านี้ก็คือคนที่ถูกให้คุณค่าว่าด้อยกว่าด้วยเรื่องสีผิว เพศ ชนชั้น การศึกษา เชื้อชาติและสัญชาติ
ด้วยข้อความที่ว่า "แค่มีผิวขาว ก็ทำให้คุณชนะ" จึงก่อให้เกิดแรงกดดันกับคนที่มีผิวเข้ม เพราะพวกเขาเหล่านั้นต้องตั้งคำถามกับความปกติของพวกเขาเองที่ถูกงานโฆษณานี้ยัดเหยียดให้เป็นความผิดปกติ หรือความด้อยกว่า ประเทศไทยจึงได้เป็นที่รู้จักอีกครั้งของนานาชาติ เพราะงานโฆษณาที่ละเลยประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกพยายามจะรณรงค์ เพื่อลดช่องว่างทางสังคมให้กับประชาชนที่มีสีผิว เพศ ชนชั้น เชื้อชาติ และสัญชาติที่ต่างกัน สิ่งที่สังคมไทยพอจะทำได้เพื่อให้คนไทยไม่ตกหลุมพลางทางการตลาดในสังคมทุนนิยม คือ การส่งเสริมความเท่าเทียมของประชาชนไทยทุกคนในระดับปัจเจก และระดับสถาบันทางสังคม ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรสร้างให้เป็นมาตราฐานและคุณค่าร่วมที่คนทุกคนในสังคมพึงระลึกและปฏิบัติ ก่อนที่สังคมไทยจะสู่ยุค "บ้า" ผิวขาวแบบไม่ลืมหูลืมตา
ฉันไม่อยากเห็นสังคมไทยเป็น "ผู้แพ้" ในสายตาชาวโลกเพียงเพราะกระบวนการคิดที่พร้อมตัดสิน และกดทับคนที่เห็นต่าง คนที่แตกต่าง และคนที่ถูกทำให้เป็นรองในสังคม ที่สำคัญ ฉันไม่อยากเห็นคนในสังคมไทยสมัยใหม่ตกเป็น "ทาส" ของการตลาดเพื่อผิวขาว ในขณะที่วิชาประวัติศาสตร์ไทยสอนให้เรารู้ว่า ประเทศไทยได้มีการเลิกทาสมาเป็นเวลามากกว่าร้อยปีแล้วก็ตาม
อาจถึงเวลาแล้วที่คนไทยรุ่นใหม่ต้องคิดเพื่อหาทางออกและก้าวพ้นจากการเป็นทาสของคุณค่านามธรรมที่ถูกสร้างเพื่อกำไรทางการตลาด และร่วมกันส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันทางสิทธิฯของคนที่มีความแตกต่างหลากหลายในสังคมไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น