ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรอบ


ชั้นม้กจะบอกกับเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งของชั้นเสมอว่า " ให้มองคนให้เป็นมนุษย์คนหนึ่ง"

หลายคนจะคิดว่าสิ่งที่ชั้นพูด"แปลก" แต่เชื่อหรือไม่ว่ามันเป็นเรื่องที่ทำไม่ง่าย หลายครั้งเรามักจะมองเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งว่าพวกเขา "แปลก" "บ้า" "แตกต่าง" จนถึงขั้นมองว่าพวกเขาและการกระทำของพวกเขา "ผิด" หรือ "ไม่สมควร" 

เพื่อนรุ่นน้องของชั้นคนนี้มักถามคำถามกับชั้นเรื่องคนรักเพศเดียวกัน คำถามที่เขาถามมักจะเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น

"พี่เอากันข้างหลังไม่เจ็บเหรอ"

"แล้วพี่เสร็จยังงัย"

"พี่รู้ตัวแต่เด็กเลยเหรอว่าพี่อยากเป็นแบบนี้"

"กะเทยเด็กเดี๋ยวนี้แรงตั้งแต่เด็ก พี่ว่ามั้ย ผมว่ามันเกินไป"

คำถามสารพัดที่ชั้นมักจะได้ยินจากน้องชายคนนี้ ชั้นเข้าใจว่าคำถามลักษณะนี้อีกมากมายยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากรู้แต่ไม่ถาม เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความสนิทกันในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถพูดคุยกันได้ เรื่องเพศเป็นเรื่องไม่ถูกพูดถึงในที่สาธารณะเพราะเห็นว่าไม่สมควรโดยเฉพาะสังคม (ไทย) ที่จริตเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินชีวิตเพื่อการรักษา "หน้า"

ชั้นมักจะตอบคำถามไปว่า "แกไม่ได้มองเขาแบบมนุษย์คนหนึ่ง" คำตอบนี้คงสร้างความฉงนสงสัยมากเพราะมันไม่ได้เป็นคำตอบของคำถามที่ถูกถาม แต่ชั้นกลับคิดว่าชั้นได้ตอบคำถามไปแล้ว ด้วยการท้าทายวิธีคิดเรื่อง "แปลก" และ"แตกต่าง" ของคนตั้งคำถาม

เรามักจะเรียนรู้เรื่อง "กรอบ" อยู่เสมอ เช่น ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี มารยาท คุณค่า ล้วนแต่เป็นกรอบปฎิบัติในสังคม ซึ่งส่วนใหญ่ถูกคิดและกำหนดจากคนชนชั้นหนึ่งเพื่อใช้กับคนทุกคนในสังคม คนที่แหกกรอบเหล่านี้มักจะถูกมองว่าเป็น "ขบถ" ของสังคม

หลายครั้งกรอบเหล่านี้เชื่อมโยงกับตัวตนทางเพศ ใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกมองว่า "แปลก" หรือ "แตกต่าง" เช่น ผู้ชายร้องไห้หรือแสดงความรู้สึกในที่สาธารณะเป็นเรื่องไม่สมควร มักถูกมองว่าคุณลักษณะดังกล่าวเป็นการลดทอนความเป็นชาย หรือกรณีผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อยก็จะถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี เพราะผู้หญิง "ดี" ต้องแต่งตัวมิดชิด

หลายครั้งเรามักจะมองความ "แปลก" แบบภาพตัวแทน เช่น กรณีของผู้ชายร้องไห้ ถูกมองว่า "ไม่ใช่ผู้ชาย" เป็น "เกย์" หรือ "กะเทย" หรือกรณีผู้หญิงนุ่งสั้นก็จะถูกมองว่า "เป็นผู้หญิงไม่เรียบร้อย" หรือ "ทำงานกลางคืน" เป็นต้น

เราต่างใช้ "กรอบ" มาตัดสินคนอื่นเสมอ จนหลงลืมไปว่า มนุษย์นั้นมีความหลากหลาย มีความต้องการแตกต่าง และมีความเป็นปัจเจกทางกายภาพ ความคิด และจิตวิญญาณ ฉะนั้น การที่คนคนหนึ่งจะใช้ชีวิตในแบบที่ไม่เหมือนใคร มีชีวิตทางเพศโลดโผนแค่ไหน มีความสัมพันธ์กับใคร มีเพศสัมพันธ์ท่าไหน จะ "ติด" กรอบ หรือ "หลุด" กรอบ มากน้อยแค่ไหน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นปัจเจกของมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งความสุขความทุกข์ของคนคนหนึ่งต่างเป็นความสุขความทุกข์ของคนคนนั้น

"กรอบ" ที่ถูกสร้างนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ "กรงขัง" ที่ทำหน้าที่กักขังความต้องการ ทำให้การแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ใหม่เป็นเรื่องยากรวมถึงการควบคุมความคิดและการกระทำของมนุษย์ ที่ร้ายยิ่งกว่านั้นกรอบเหล่านี้ทำให้มนุษย์มองเพื่อนมนุษย์ที่ไม่ปฏิบัติตามกรอบที่สังคมกำหนดว่า "แปลก" และ "แตกต่าง"

สำหรับชั้น ชั้นคิดว่าคนที่ติดอยู่ใน "กรงขัง" นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ "กบในกะลา" แม้ว่าการติดกรอบไม่ใช่เรื่อง "แปลก" หรือ "ผิด" แต่เราก็ไม่ควรมองคนที่อยู่นอกกรอบว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร หรือแปลก

เชื่อเถอะว่า ถ้าเรา "มองคนให้เป็นมนุษย์" เราจะรู้ว่าเขาเหล่านั้นก็ไม่ "ต่าง" จากเรา





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Why?

Why?  A: What make you a transgender woman?  B: Well, I don't know.  A: If being trans is difficult, why don't you try to change?  B: I can't change. This is me!  A: Are you happy of being a trans woman.  B: Well, all of us suffer one way or another, but we can be happy. It is life, you know?  B: What make you a man? A: I was born a boy so I am a man. B: Do you really believe that? A: Yes, I do. Everyone else also think that I am a man and they want to see me a masculine man. B: Ok, you are a man or at least you believe you are a man.  A: Why did you ask me this question? It is weird! B: It isn't. For me, the strange thing is that your world has 2 gender, but gender is more diverse in my world. Sadly, you are whoever other people tell you to be. I am who I am because I know who I wanna be. I am so happy!

ทาส ผิวขาว และสังคมไทย

ฉันนึกถึงภาพยนตร์ไทยเรื่องพระนเรศวร หนังจอเงินที่คนไทยหลายคนได้ดูไม่ว่าจะได้ดูเพียงภาคใดภาคหนึ่งในหลายๆภาค หรือตอนใดตอนหนึ่งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หลายคนคงตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไทยที่ภาพยนตร์พยายามนำเสนอ อย่างไรก็แล้วแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้หยิบยกรายละเอียดเพียงบางมุมที่ผู้กำกับและผู้เขียนบทต้องการจะนำมาสื่อสารกับผู้ชมเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ตามผู้ชมก็พอจะได้เรียนรู้ประวิติศาสตร์ไทยจากภาพยนตร์เรื่องพระนเรศวรไม่มากก็น้อย สิ่งหนึ่งที่ฉันได้เรียนรู้ในหนังอย่างเรื่องพระนเรศวรคือเรื่องสีผิวคนไทยที่ไม่ขาวแบบฝรั่งหรือไม่ดำแบบชาวแอฟริกัน คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณไม่ได้เป็นคนขาวแต่อย่างใด ... ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ไทยหลายเรื่องก็ไม่ได้ใช้นักแสดงที่มีผิวสีขาวผุดผ่อง นั้นอาจจะเป็นเพราะนักแสดงผิวขาวจะทำให้หนังประวิติศาสตร์ไทยมีความบิดเบือนในเรื่องของรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ หรือจะเป็นเพราะเหตุผลอื่น ซึ่งฉันขอเพียงตั้งไว้เป็นข้อสังเกตเท่านั้น ตอนเป็นเด็ก ฉันเรียนวิชาสังคมศึกษาที่อาจารย์มักสอนฉันว่า ประเทศไทยมีชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ นั่นคือ ประเทศไทยม

พลังเยาวชนกะเทย

คิดย้อนกลับไปสมัยที่วันเด็กเป็นหนึ่งในวันสำคัญที่สุดของชีวิต วันเด็กเป็นวันที่เด็กหลายคนจะต้องไปธนาคารออมสินเพื่อรับของขวัญเป็นกระปุกออมสินราคาถูกๆ แต่ดีใจราวกับถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง วันเด็กที่เด็กบางคนจะต้องไปแสดงความสามารถต่างๆในงานวันเด็กของจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นการประกวดร้องเพลง แข่งวาดภาพ แข่งคัดลายมือ แข่งอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ตามรายการแข่งขันสาระพัดนับไม่ถ้วนที่จัดหามาเพื่อให้เด็กเก่งมาแสดงความสามารถ อีกเรื่องหนึ่งที่พอจะจำได้คือ วันเด็กเป็นวันที่เราต้องจำคำขวัญที่ถูกแต่งขึ้นมาโดยนายกรัฐมนตรีเพื่อใช้ในวันเด็กประจำปีของแต่ละปี และคำขวัญเหล่านี้ก็ดูเหมือนจะคล้ายกันทุกปี คือ เป็นเด็กต้องเป็นเด็กดี มีวินัย ใฝ่การศึกษา หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ประหนึ่งว่าชีวิตของเด็กคนหนึ่งจะผูกผันกับเรื่องราวเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น ดังนั้นความเป็นเด็กในมายาคติแบบไทย จะหลงลืมเด็กจำนวนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อว่าเด็กไทยต้องอยู่ในพื้นที่โรงเรียนและบ้านเท่านั้น เด็กไทยจะต้องกตัญญูเชื่อฟังพ่อแม่ และ เด็กไทยทั้ง "เด็กชาย" และ "เด็กหญิง" จะเป็นอนาคตข